ประมวลการสอนรายวิชา

ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์

รหัสวิชา ME390 ชื่อวิชา MECHANICAL ENGINEERING LABORATORY I  จำนวนหน่วยกิต 1 

ภาคการศึกษาที่ 1/2554


           ข้อมูลเกี่ยวกับวิชา

รหัสวิชา ME390
ชื่อวิชาภาษาไทย ปฏิบัติการวิศวกรรมเครื่องกล 1
ชื่อวิชาภาษาอังกฤษ MECHANICAL ENGINEERING LABORATORY I
ตอนที่ B01
ระดับ ปริญญาตรี

คำอธิบายรายวิชา
ปฏิบัติการทดลองในหัวข้อต่าง ๆ ของวิชาวัสดุวิศวกรรม กลศาสตร์ของไหล และเทอร์โมไดนามิกส์ รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 15 หัวข้อ

ผู้สอน
  ชื่อ-สกุล อีเมล์ เวลานิสิตเข้าพบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์เกียรติชัย รักษาชาติkiattich@swu.ac.th
ผู้ช่วยศาสตราจารย์บัญชา ค้งตระกูลbancha@swu.ac.th
อาจารย์ประชา บุณยวานิชกุลprachabu@swu.ac.th
 
ห้องเรียน  -  เวลาเรียน:
02999999 อ. 12:30-15:20

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้นิสิตมีความรู้และความเข้าใจในทฤษฎีเบื้องต้นของเครื่องทดลองในหัวข้อต่างๆของวิชาวัสดุวิศวกรรม กลศาสตร์ของไหล และเทอร์โมไดนามิกส์
2. เพื่อให้นิสิตมีทักษะในการทำปฎิบัติการ การรวบรวมข้อมูล และหาความสัมพันธ์ระหว่างผลการทดลองกับทฤษฎี
3. เพื่อให้นิสิตมีทักษะในการทำงานเป็นกลุ่ม
4. เพื่อให้นิสิตมีทักษะในการนำเสนอผลงานทางวิชาการ ทั้งในรูปแบบของการเขียนรายงานทางวิชาการและในรูปแบบของการบรรยาย

กิจกรรมการเรียนการสอนและวิธีการสอน
1. ใช้แผ่นใสและใช้ Power point ประกอบการอธิบายร่วมกับการเขียนบนกระดาน
2. ตรวจสอบความเข้าใจโดยการถาม-ตอบในห้องเรียน
3. ให้เข้าทำปฏิบัติการเป็นกลุ่มย่อย เวียนจนครบทุกปฏิบัติการ
4. การสอบภาคปฏิบัติ เป็นการนำเสนอปากเปล่าเป็นกลุ่ม ใช้เวลากลุ่มละประมาณ 15-20 นาที แต่ละกลุ่มจะนำเสนอผลงานเพียงหัวข้อปฏิบัติการเดียวเท่านั้น หัวข้อปฏิบัติการจะถูกเลือกด้วยการจับฉลาก การให้คะแนนจะพิจารณาจากการเตรียมตัวนำเสนอผลงาน วิธีการนำเสนอ การควบคุมเวลา ความเข้าใจทั้งทางทฤษฎีและทางปฏิบัติในเรื่องที่นำเสนอ และการตอบคำถาม
5. สอบปลายภาค เป็นการสอบข้อเขียนในหัวข้อปฏิบัติการทั้งหมด

ระเบียบในการเข้าทำปฏิบัติการ
1) ให้นิสิตเข้าทำปฏิบัติการตามกำหนดการที่ประกาศไว้
2) ให้นิสิตใส่ชุดปฏิบัติการ กางเกงขายาวและรองเท้าหุ้มส้นเท่านั้น
3) ในการเข้าทำปฏิบัติการทุกครั้งจะมีการขานชื่อทุกครั้ง ภายใน 5 นาทีแรก ถ้านิสิตมาสายหรือแต่งกายผิดระเบียบ จะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าทำปฏิบัติการ
4) ห้ามนิสิตออกนอกบริเวณที่ทำปฏิบัติการก่อนได้รับอนุญาตจากอาจารย์ผู้ควบคุม
5) ถ้านิสิตมาขานชื่อแล้วไม่เข้าทำปฏิบัติการโดยไม่แจ้งเหตุผลอันสมควรจะไม่อนุญาตให้เข้าทำปฏิบัติการซ่อมต่อไป
6) ในกรณีที่นิสิตขาดการเข้าทำปฏิบัติการเนื่องจาก ลาป่วย ลากิจ มาสายเกิน 5 นาที หรือแต่งกายผิดระเบียบ นิสิตจะต้องมาเข้าทำปฏิบัติการซ่อมในชั่วโมงสำรองที่จัดไว้ในกำหนดการ หรือในชั่วโมงที่อาจารย์ผ็ควบคุมในหัวข้อการทดลองนั้นๆ เห็นชอบ และจะต้องหาผู้ช่วยเหลือมาให้ครบพอที่จะทำปฏิบัติการนั้นๆ ได้ด้วย
7) ในกรณีที่นิสิตได้ทำงานนัดหมายกับอาจารย์ผู้ควบคุมเพื่อเข้าทำปฏิบัติการซ่อมแล้วปรากฎว่านิสิตไม่มาเข้าทำปฏิบัติการ จะไม่อนุญาตให้เข้าทำปฏิบัติการซ่อมในหัวข้อนั้นๆ อีกต่อไป
8) นิสิตทุกคนจะต้องทำความสะอาดเครื่องมือ อุปกรณ์ และบริเวณปฏิบัติการทุกครั้งหลังจากเสร็จสิ้นการทำปฏิบัติการ
9) นิสิตจะต้องส่งผลการทดลอง (Data) ให้อาจารย์ผู้ควบคุมลงนามรับรอง ทุกครั้งที่เสร็จสิ้นการทดลอง
10) ถ้าการทำปฏิบัติการไม่ได้ผล (Fail) ไม่ว่าจะเป็นด้วยสาเหตุใดก็ตาม นิสิตจะต้องแจ้งให้อาจารย์ผู้ควบคุมทราบและขออนุญาตทำปฏิบัติการซ่อมก่อนกำหนดการเข้าทำปฏิบัติการครั้งต่อไป
11) การส่งรายงานการปฏิบัติการให้ส่งในสัปดาห์ถัดไปจากสัปดาห์ที่ได้เข้าทำปฏิบัติการ ถ้านิสิตส่งช้ากว่ากำหนด จะถูกตัดคะแนน 50% จากคะแนนที่ควรจะได้ในหัวข้อการทดลองนั้น
12) รายงานที่ให้นิสิตส่งต้องเป็นรายงานสมบูรณ์ (Full report) เท่านั้น คะแนนเต็มฉบับละ 10 คะแนน
 
การประเมินผลการเรียน
นิสิตที่ลงทะเบียนตัดเกรดร่วมกัน พิจารณาตัดเกรดจากคะแนนรวมทั้งหมด โดยใช้วิธีอิงเกณฑ์ ในกรณีที่เข้าชั้นเรียนต่ำกว่า 80% ของเวลาเรียนจะไม่มีสิทธิ์สอบและได้รับเกรด E
คะแนนที่นำมาประเมินมีดังนี้
1. รายงานการปฏิบัติการ 50%
2. สอบภาคปฏิบัติ 20%
2. สอบปลายภาค 30%
หมายเหตุ
1. คะแนนความสนใจ ความร่วมมือในชั้นเรียน ในงานที่มอบหมาย และการทดสอบย่อยเป็นสิทธิ์ของอาจารย์ผู้สอนที่จะกำหนดตามสมควร โดยอยู่ในกรอบเกณฑ์คะแนนข้างต้น
2. นิสิตต้องปฏิบัติตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยและประกาศของคณะวิศวกรรมศาสตร์อย่างเคร่งครัด
3. นิสิตจะต้องมีเวลาเข้าชั้นเรียนไม่น้อยกว่า 80% ของเวลาเรียนจึงจะมีสิทธิ์เข้าสอบปลายภาค 4. นิสิตจะต้องไม่เข้าสอบสายเกินกว่า 30 นาที และจะออกจากห้องสอบก่อนเวลา 30 นาทีแรกของการสอบไม่ได้

เกณฑ์การพิจารณาตัดเกรด
คะแนน เกรด
81-100 A
76-80 B+
71-75 B
61-75 C+
51-60 C
46-50 D+
41-45 D
0-40 E
ไม่สมบูรณ์ I

เอกสารและสื่อที่ใช้ประกอบการสอน
อาจารย์ผู้ควบคุมในแต่ละหัวข้อปฏิบัติจะแจก Laboratory instruction sheets ก่อนนิสิตเข้าทำปฏิบัติการ

Course Online
-

ตารางการเรียนการสอน
ครั้งที่
วันที่
หัวข้อ
ห้องเรียน
วิธีการสอน
ผู้สอน
หมายเหตุ
1 7 มิ.ย. 2554 ปฐมนิเทศการเรียนการสอน
บรรยายทฤษฎีโดย ผศ. ดร. บัญชา
ME-108Aฝึกปฏิบัติผศ.บัญชา ค้งตระกูล
2 14 มิ.ย. 2554 การทดลอง Balancing of rotating masses โดย ผศ. ดร. บัญชา ME-108Aฝึกปฏิบัติผศ.บัญชา ค้งตระกูล
3 21 มิ.ย. 2554 การทดลอง Shear center โดย ผศ. ดร. บัญชา ME-108Aฝึกปฏิบัติผศ.บัญชา ค้งตระกูล
4 28 มิ.ย. 2554 การทดลอง Unsymmetrical bending โดย ผศ. ดร. บัญชา ME-108Aฝึกปฏิบัติผศ.บัญชา ค้งตระกูล
5 5 ก.ค. 2554 การทดลอง Fatigue test โดย ผศ. ดร. บัญชา ME-108Aฝึกปฏิบัติผศ.บัญชา ค้งตระกูล
6 12 ก.ค. 2554 บรรยายทฤษฎีโดย อ ดร. ประชา ME-108Aฝึกปฏิบัติอ.ประชา บุณยวานิชกุล
7 19 ก.ค. 2554 การทดลอง Hardness test โดย ดร. ประชา ME-108Aฝึกปฏิบัติอ.ประชา บุณยวานิชกุล
8 26 ก.ค. 2554 การทดลอง Grain measurement โดย อ ดร. ประชา ME-108Aฝึกปฏิบัติอ.ประชา บุณยวานิชกุล
9 9 ส.ค. 2554 การทดลอง Impact test โดย อ ดร. ประชา ME-108Aฝึกปฏิบัติอ.ประชา บุณยวานิชกุล
10 16 ส.ค. 2554 บรรยายทฤษฎีโดย ผศ. เกียรติชัย ME-108Aฝึกปฏิบัติผศ.เกียรติชัย รักษาชาติ
11 23 ส.ค. 2554 การทดลอง Tensile test โดย ผศ. เกียรติชัย ME-108Aฝึกปฏิบัติผศ.เกียรติชัย รักษาชาติ
12 30 ส.ค. 2554 การทดลอง Torsion test โดย ผศ. เกียรติชัย ME-108Aฝึกปฏิบัติผศ.เกียรติชัย รักษาชาติ
13 6 ก.ย. 2554 การทดลอง Strut apparatus ผศ. เกียรติชัย ME-108Aฝึกปฏิบัติผศ.เกียรติชัย รักษาชาติ
14 13 ก.ย. 2554 เผื่อไว้สำหรับนิสิตที่ขาดการเข้าทำปฏิบัติการ ME-108Aฝึกปฏิบัติผศ.เกียรติชัย รักษาชาติ,ผศ.บัญชา ค้งตระกูล ,อ.ประชา บุณยวานิชกุล
15 20 ก.ย. 2554 เผื่อไว้สำหรับนิสิตที่ขาดการเข้าทำปฏิบัติการ ME-108Aฝึกปฏิบัติผศ.เกียรติชัย รักษาชาติ,ผศ.บัญชา ค้งตระกูล ,อ.ประชา บุณยวานิชกุล
  
 
หมายเหตุการเปลี่ยนแปลง
-