ประมวลการสอนรายวิชา

คณะพลศึกษา คณะพลศึกษา

รหัสวิชา PEC101 ชื่อวิชา HUMAN ANATOMY AND PHYSIOLOGY I  จำนวนหน่วยกิต 2 

ภาคการศึกษาที่ 1/2554


           ข้อมูลเกี่ยวกับวิชา

รหัสวิชา PEC101
ชื่อวิชาภาษาไทย กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของมนุษย์ 1
ชื่อวิชาภาษาอังกฤษ HUMAN ANATOMY AND PHYSIOLOGY I
ตอนที่ B10
ระดับ ปริญญาตรี

คำอธิบายรายวิชา
โครงสร้าง หน้าที่ กลไกการทำงาน และการควบคุมอวัยวะและระบบต่าง ๆของมนุษย์ การทำงานของระบบต่าง ๆ ในภาวะปกติ ได้แก่ ระบบผิวหนัง ระบบโครงร่าง ระบบกล้ามเนื้อ ระบบประสาทและอวัยวะสัมผัสพิเศษ ระบบฮอร์โมน และระบบภูมิคุ้มกัน รวมทั้งการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในด้านต่าง ๆที่เกี่ยวข้อง

ผู้สอน
  ชื่อ-สกุล อีเมล์ เวลานิสิตเข้าพบ
อาจารย์ปาริยา ปาริยะวุทธิ์pariya@swu.ac.th พุุธ 9.30-16.00 น.
 
ห้องเรียน  -  เวลาเรียน:
02170104A จ. 13:30-16:20

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิชากายวิภาคและสรีรวิทยาในมนุษย์
2. เพื่อให้ผู้เรียนรู้ถึงองค์ประกอบและหน้าที่ของอวัยวะต่างๆภายในร่างกายของมนุษย์
3. เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของวัยวะและหน้าที่ของอวัยวะเหล่านี้
4. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำเอาหลักการทางกายวิภาคและสรีรวิทยาไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และการทำกิจกรรมต่างๆ
5. เพื่อให้นิสิตสามารถสืบค้น ค้นคว้าข้อมูล จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่เรียนได้
6. เพื่อให้นิสิตมีเจตคติที่ดีต่อการเรียน เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้และพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสามารถแก้ปัญหาและประยุกต์ใช้ความรู้ในชีวิตประจำวันได้
 
การประเมินผลการเรียน
1) สอบกลางภาค (ปฏิบัติ) 20 %
2) สอบกลางภาค (ทฤษฎี) 30%
3) สอบปลายภาค (ปฏิบัติ) 20 %
4) สอบปลายภาค (ทฤษฎี) 30%
รวมเป็นคะแนนเต็ม 100 %

เกณฑ์การพิจารณาตัดเกรด
การพิจารณาตัดเกรดอาจจะใช้ทั้งแบบอิงเกณฑ์และอิงกลุ่มร่วมกัน

เอกสารและสื่อที่ใช้ประกอบการสอน
เอกสารประกอบการสอน, PowerPoint, หุ่นจำลอง
คณาจารย์ภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2545). สรีรวิทยา.
กรุงเทพฯ : เท็กแอนด์เจอร์นัล พับลิเคชั่น.
พิชิต ภูติจันทร์. (2545). กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของมนุษย์. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
Frederic H. Martini. (2006). Fundamentals of Anatomy and Physiology. 7th. Pearson
education. USA.
Rod R. Seeley, Trent D. Stephens and Philip Tate. (2007). Essential of Anatomy and
Physiology. 6th Mc Graw Hill. USA.
Robert M. Berne and Matthew N. Levy. (2000). Principles of Physiology. 3rd. Mosby.
USA.
***นิสิตสามารถศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมได้จากหนังสือเรื่อง กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา และ หนังสือที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาสาระที่เรียน***

Course Online
-

ตารางการเรียนการสอน
ครั้งที่
วันที่
หัวข้อ
ห้องเรียน
วิธีการสอน
ผู้สอน
หมายเหตุ
1 6 มิ.ย. 2554 ปฐมนิเทศการเรียนรายวิชากายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา
บทนำทางกายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา
• พื้นฐานทางกายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาเบื้องต้น
• ภาษาที่ใช้ทางกายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา
• ลำดับขั้นของสิ่งมีชีวิต
• การรักษาสภาพสมดุลในร่างกายมนุษย์
02170104Aบรรยาย, ฝึกปฏิบัติ, กิจกรรมกลุ่ม, ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง, เรียนรู้ด้วยตนเองอ.ปาริยา ปาริยะวุทธิ์
2 13 มิ.ย. 2554 เซลล์ เนื้อเยื่อ และเมมเบรน
• โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์ เนื้อเยื่อ และเมมเบรน
• การขนส่งสารผ่านเซลล์ เนื้อเยื่อ และเมมเบรน
• การเจริญเติบโตและการแบ่งเซลล์
02170104Aบรรยาย, ฝึกปฏิบัติ, กิจกรรมกลุ่ม, ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง, เรียนรู้ด้วยตนเองอ.ปาริยา ปาริยะวุทธิ์
3 20 มิ.ย. 2554 ระบบการห่อหุ้มร่างกาย
• ลักษณะทางกายวิภาคศาสตร์และหน้าที่ของระบบห่อหุ้มร่างกาย
02170104Aบรรยาย, ฝึกปฏิบัติ, กิจกรรมกลุ่ม, ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง, เรียนรู้ด้วยตนเองอ.ปาริยา ปาริยะวุทธิ์
4 27 มิ.ย. 2554 ระบบโครงร่าง
• ลักษณะทางกายวิภาคศาสตร์และหน้าที่ของระบบโครงร่าง
02170104Aบรรยาย, ฝึกปฏิบัติ, กิจกรรมกลุ่ม, ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง, เรียนรู้ด้วยตนเองอ.ปาริยา ปาริยะวุทธิ์
5 4 ก.ค. 2554 ระบบโครงร่าง
• การแบ่งส่วนของระบบโครงร่าง
02170104Aบรรยาย, ฝึกปฏิบัติ, กิจกรรมกลุ่ม, ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง, เรียนรู้ด้วยตนเองอ.ปาริยา ปาริยะวุทธิ์
6 11 ก.ค. 2554 ระบบโครงร่าง
• กระบวนการสร้างและสลายของกระดูก
02170104Aบรรยาย, ฝึกปฏิบัติ, กิจกรรมกลุ่ม, ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง, เรียนรู้ด้วยตนเองอ.ปาริยา ปาริยะวุทธิ์
7 18 ก.ค. 2554 ระบบกล้ามเนื้อ
• ลักษณะทางกายวิภาคศาสตร์และหน้าที่ของระบบกล้ามเนื้อลาย
• คุณสมบัติทางไฟฟ้าของกล้ามเนื้อลาย
• คุณสมบัติทางกลศาสตร์ของกล้ามเนื้อลาย
• การล้าและการเจ็บปวดของกล้ามเนื้อลาย
• การควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อลาย
02170104Aบรรยาย, ฝึกปฏิบัติ, กิจกรรมกลุ่ม, ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง, เรียนรู้ด้วยตนเองอ.ปาริยา ปาริยะวุทธิ์
8 25 ก.ค. 2554 ระบบกล้ามเนื้อ
• ลักษณะทางกายวิภาคศาสตร์และหน้าที่ของระบบกล้ามเนื้อหัวใจ
• คุณสมบัติทางไฟฟ้าและคุณสมบัติทางกลศาสตร์ของกล้ามเนื้อหัวใจ
• การควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ
02170104Aบรรยาย, ฝึกปฏิบัติ, กิจกรรมกลุ่ม, ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง, เรียนรู้ด้วยตนเองอ.ปาริยา ปาริยะวุทธิ์
9 1 ส.ค. 2554 สอบกลางภาค 02170104Aบรรยาย, ฝึกปฏิบัติ, สอบกลางภาคอ.ปาริยา ปาริยะวุทธิ์
10 8 ส.ค. 2554 ระบบกล้ามเนื้อ
• ลักษณะทางกายวิภาคศาสตร์และหน้าที่ของระบบกล้ามเนื้อเรียบ
• คุณสมบัติทางไฟฟ้าและคุณสมบัติทางกลศาสตร์ของกล้ามเนื้อเรียบ
• การควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อเรียบ
02170104Aบรรยาย, ฝึกปฏิบัติ, กิจกรรมกลุ่ม, ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง, เรียนรู้ด้วยตนเองอ.ปาริยา ปาริยะวุทธิ์
11 15 ส.ค. 2554 ระบบประสาท
• ลักษณะทางกายวิภาคศาสตร์แบะหน้าที่ของระบบประสาทส่วนกลาง
• คุณสมบัติทางไฟฟ้าของเซลล์ประสาท
02170104Aบรรยาย, ฝึกปฏิบัติ, กิจกรรมกลุ่ม, ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง, เรียนรู้ด้วยตนเองอ.ปาริยา ปาริยะวุทธิ์
12 22 ส.ค. 2554 ระบบประสาท
• ลักษณะทางกายวิภาคศาสตร์และหน้าที่ของระบบประสาทส่วนปลาย
• ลักษณะทางกายวิภาคศาสตร์และหน้าที่ของระบบประสาทรับความรู้สึกพิเศษ
02170104Aบรรยาย, ฝึกปฏิบัติ, กิจกรรมกลุ่ม, ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง, เรียนรู้ด้วยตนเองอ.ปาริยา ปาริยะวุทธิ์
13 29 ส.ค. 2554 ระบบต่อมไร้ท่อ
• บทนำของระบบต่อมไร้ท่อ
• ต่อมใต้สมอง
• ต่อมไทรอยด์
• ต่อมพาราไทรอยด์
02170104Aบรรยาย, ฝึกปฏิบัติ, กิจกรรมกลุ่ม, ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง, เรียนรู้ด้วยตนเองอ.ปาริยา ปาริยะวุทธิ์
14 5 ก.ย. 2554 ระบบต่อมไร้ท่อ
• ตับอ่อน
• ต่อมหมวกไต
• ต่อมไพเนียลและต่อมไทมัส
• การควบคุมการทำงานของต่อมไร้ท่อ
02170104Aบรรยาย, ฝึกปฏิบัติ, กิจกรรมกลุ่ม, ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง, เรียนรู้ด้วยตนเองอ.ปาริยา ปาริยะวุทธิ์
15 12 ก.ย. 2554 ระบบภูมิคุ้มกัน
• ลักษณะทางกายวิภาคศาสตร์และหน้าที่ของระบบภูมิคุ้มกัน
• การสร้างน้ำเหลือง
• การควบคุมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
02170104Aบรรยาย, ฝึกปฏิบัติ, กิจกรรมกลุ่ม, ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง, เรียนรู้ด้วยตนเองอ.ปาริยา ปาริยะวุทธิ์
16 26 ก.ย. 2554 สอบปลายภาค 02170104Aบรรยาย, ฝึกปฏิบัติ, สอบปลายภาคอ.ปาริยา ปาริยะวุทธิ์
  
 
หมายเหตุการเปลี่ยนแปลง
-