ประมวลการสอนรายวิชา
ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์
รหัสวิชา PH102 ชื่อวิชา FUNDAMENTALS OF RELIGION จำนวนหน่วยกิต 3
ภาคการศึกษาที่ 1/2555
รหัสวิชา | PH102 |
ชื่อวิชาภาษาไทย | ความรู้พื้นฐานทางศาสนา |
ชื่อวิชาภาษาอังกฤษ | FUNDAMENTALS OF RELIGION |
ตอนที่ | B02 |
ระดับ | ปริญญาตรี |
คำอธิบายรายวิชา | ||||||||||||
ศึกษาความหมายของศาสนา กำเนิดและที่มา การจัดแบ่งประเภท และองค์ประกอบ หลักธรรมคำสอนและแนวปฏิบัติของศาสนาโบราณละศาสนาสากล ตลอดจนบทบาทของศาสนาที่มีต่อสังคมไทยปัจจุบัน | ||||||||||||
|
||||||||||||
|
||||||||||||
วัตถุประสงค์ | ||||||||||||
1.เพื่อให้นิสิตมีความรู้พื้นฐานทางศาสนาในเรื่องต่างๆ อาทิ ความหมาย กำเนิด ที่มา การจัดแบ่งประเภท และองค์ประกอบของศาสนา 2.เพื่อให้นิสิตมีความรู้หลักธรรมคำสอนและแนวปฏิบัติของศาสนาโบราณ ศาสนาดั้งเดิมและศาสนาสากล 3.เพื่อให้นิสิตสามารถวิเคราะห์บทบาทของศาสนาที่มีต่อสังคมไทยปัจจุบัน รวมทั้งสามารถศึกษาค้นคว้าความรู้ทางศาสนาได้ด้วยตนเอง |
||||||||||||
การประเมินผลการเรียน | ||||||||||||
สอบกลางภาค 30 คะแนน สอบปลายภาค 40 คะแนน คะแนนรายงาน 20 คะแนน จิตพิสัย 10 คะแนน มีดังนี้ -การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน 2 คะแนน -การใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องเหมาะสมกาละเทศะ 2 คะแนน -ความซื่อสัตย์ 2 คะแนน -การเรียนครบทุกครั้ง 2 คะแนน -การตรงต่อเวลา 2 คะแนน |
||||||||||||
เกณฑ์การพิจารณาตัดเกรด | ||||||||||||
อิงกลุ่ม | ||||||||||||
เอกสารและสื่อที่ใช้ประกอบการสอน | ||||||||||||
เอกสารหลัก - ปรีชา ช้างขวัญยืน และสมภาร พรมทา. มนุษย์กับศาสนา. กรุงเทพมหานคร : โครงการเผยแพร่ ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. - พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต), บาหลวงเชิดชัย เลิศจิตรเลขา และอรุณ บุญชม. บาปไฮเทค ดัดแปลงชีวิต ฝืนลิขิตธรรมชาติ,กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์กรีน-ปัญญาญาณ,2551. - ภัทรพร สิริกาญจน และคณะ. ความรู้พื้นฐานทางศาสนา.กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ธรรมศาสตร์, 2546. เอกสารอ่านเพิ่มเติม คริสตธรรมใหม่. กรุงเทพมหานคร : องค์การกีเดี้ยนส์ อินเตอร์เนชันแนล, ไม่ระบุปีที่พิมพ์ จำนง ทองประเสริฐ, แปล. บ่อเกิดลัทธิประเพณีอินเดีย. 3 เล่ม. กรุงเทพมหานคร : ราชบัณฑิตยสถาน, 2515. เชคซัยนุลอาบิดีน ฟินดี้ , แปล. รากฐานศาสนาอิสลาม. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์วัฒนธรรม สถานเอก อัครราชทูต สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน,2540. ดิเรก กุลสิริสวัสดิ์. ความหมายของอัล-กุรอาน 3 เล่ม กรุงเทพมหานคร : วุฒิกรการพิมพ์, 2512- 2513. บรรจง บินกาซิม.สารานุกรมศาสนาอิสลาม ฉบับ เยาวชนและผู้เริ่มเรียน,กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อัล อะมีน,2547. พระธรรมปิฎก. พุทธธรรม. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, 2529. สุนทร ณ รังษี. พุทธปรัชญาจากพระไตรปิฎก. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, 2540. ปรัชญาอินเดีย. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532. เสฐียรโกเศศ. ศาสนาเปรียบเทียบ. กรุงเทพมหานคร : ราชบัณฑิตยสถาน, 2530. เสรี พงศ์พิศ. ศาสนาคริสต์. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2531. เสรี พงศ์พิศ และคณะ. คน ในทรรศนะของพุทธศาสนา อิสลาม และคริสตศาสนา.กรุงเทพมหานคร : สภาคาทอลิกแห่งประเทศไทยเพื่อการพัฒนา, 2524. |
||||||||||||
Course Online | ||||||||||||
- |