ประมวลการสอนรายวิชา

ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์

รหัสวิชา THE213 ชื่อวิชา DEVELOPMENT OF THE THAI LANGUAGE  จำนวนหน่วยกิต 3 

ภาคการศึกษาที่ 2/2554


           ข้อมูลเกี่ยวกับวิชา

รหัสวิชา THE213
ชื่อวิชาภาษาไทย วิวัฒนาการของภาษาไทย
ชื่อวิชาภาษาอังกฤษ DEVELOPMENT OF THE THAI LANGUAGE
ตอนที่ B01
ระดับ ปริญญาตรี

คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาวิวัฒนาการของภาษาตระกูลไทโดยสังเขป วิวัฒนาการของภาษา และอักษรไทย ตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน เปรียบเทียบการใช้สำนวนภาษาไทยแต่ละสมัย วิเคราะห์กระบวนการและสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับภาษาไทยทั้งระบบ

ผู้สอน
  ชื่อ-สกุล อีเมล์ เวลานิสิตเข้าพบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์รุ่งฤดี แผลงศรrungrude@swu.ac.th w.9.00-12.00
 
ห้องเรียน  -  เวลาเรียน:
01020502 อ. 13:30-16:20

วัตถุประสงค์
1. เพื่ออธิบายวิวัฒนาการของภาษาตระกูลไทได้
2. เพื่ออธิบายลักษณะและวิวัฒนาการของตัวอักษรไทย ตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบันได้
3. เพื่ออธิบายวิวัฒนาการของอักขรวิธีไทย ตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบันได้
4. เพื่ออธิบายวิวัฒนาการของสำนวนภาษาแต่ละสมัยได้
5. เพื่อสามารถวิเคราะห์กระบวนการและสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับภาษาไทย
 
การประเมินผลการเรียน
1. จิตพิสัย 10 %
- การสื่อสารภาษาไทยได้ถูกต้องมีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับกาลเทศะ 3 %
- ความตรงต่อเวลา 2 %
- การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน 3 %
- ความประพฤติเหมาะสม/การแต่งกายถูกระเบียบ 2 %
2. สอบกลางภาค (Mid-term exam) 25 %
สอบปลายภาค (Final exam) 25 %
3. อื่น ๆ โปรดระบุ (Others : Please specify)
- รายงานกลุ่ม 30 %
(1. ตัวเลขไทย
2. การใช้สำนวนสมัยสุโขทัย/อยุธยา/รัตนโกสินทร์
3. การเปลี่ยนแปลงของภาษา )
- รายงานค้นคว้าด้วยตนเอง/สอบเก็บคะแนน 10 %
รวม 100 %

เกณฑ์การพิจารณาตัดเกรด
80 – 100 = A 75 – 79 = B+
70 – 74 = B 65 – 69 = C+
60 – 64 = C 55 – 59 = D+
50 – 54 = D 0 – 49 = E

เอกสารและสื่อที่ใช้ประกอบการสอน
กตัญญู ชูชื่น. (๒๕๓๔). อักษรโบราณที่ใช้บันทึกวรรณกรรมไทย. กรุงเทพ ฯ : หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมการฝึกหัดครู.
กัลยา ติงศภัทิย์,ม.ร.ว. (๒๕๓๔). “ภาษาและภาษาย่อยในประเทศไทย.” เอกสารการสอน ภาษาไทย ๓
หน่วยที่ ๗ – ๑๕. พิมพ์ครั้งที่ ๕. นนทบุรี : สุโขทัยธรรมาธิราช.
กาญจนา เงารังษี. (๒๕๓๑). โครงสร้างภาษาเชิงทฤษฎี. คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
พิษณุโลก.
กำธร สถิรกุล. (๒๕๒๖). ลายสือไท ๗๐๐ ปี. กรุงเทพ ฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.
ชวนพิศ อิฐรัตน์. ((๒๕๑๗). การใช้คำและสำนวนในสมัยสุโขทัย. วิทยานิพนธ์อ.ม. (ภาษาไทย)
กรุงเทพ ฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดุษฎีพร ชำนิโรคศานต์. (๒๕๒๖). ภาษาศาสตร์เชิงประวัติและภาษาไทเปรียบเทียบ.
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธวัช ปุณโณทก. (๒๕๔๓). วิวัฒนาการภาษาไทย. กรุงเทพ ฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
_______. (๒๕๔๙). อักษรไทยโบราณ ลายสือไทย และวิวัฒนาการอักษรของชนชาติไทย. กรุงเทพ ฯ :
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
_________. (๒๕๔๘). ประวัติอักษรไทยพ่อขุนรามคำแหง และการแพร่กระจายสู่อาณาจักร
ล้านนา - ล้านช้าง. นนทบุรี : โครงการศูนย์สุโขทัยศึกษา สาขาวิชาศิลปศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ธีระพันธ์ เหลืองทองคำ. (๒๕๔๕). “ตระกูลของภาษาไทย.” บรรทัดฐานภาษาไทย เล่ม ๑ : ระบบเสียง
อักษรไทย การอ่านคำและการเขียนสะกดคำ. กรุงเทพ ฯ : สถาบันภาษาไทย กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.
ปราณี กุลละวณิชย์.(๒๕๓๔) “การเปลี่ยนแปลงของภาษา.” เอกสารการสอน ภาษาไทย ๓
หน่วยที่ ๗ – ๑๕. พิมพ์ครั้งที่ ๕. นนทบุรี : สุโขทัยธรรมาธิราช.

ปรีชา ช้างขวัญยืน.(๒๕๑๔). การใช้ภาษาร้อยแก้วในภาษาไทยสมัยอยุธยา. วิทยานิพนธ์อ.ม.
(ภาษาไทย) กรุงเทพ ฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ยอร์ช เซเดส์.(๒๕๒๖). ตำนานอักษรไทย ตำนานพระพิมพ์ การขุดค้นที่พงตึก และศิลปะไทยสมัย
สุโขทัย. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพ ฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.
ราตรี ธันวารชร. (๒๕๔๘). วิวัฒนาการของภาษาไทย. กรุงเทพ ฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เรืองเดช ปันเขื่อนขัติย์. (๒๕๓๑). ภาษาถิ่นตระกูลไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพ ฯ :
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วิไลวรรณ ขนิษฐานันท์. (๒๕๓๓). พิมพ์ครั้งที่ ๕. ภาษาและภาษาศาสตร์. กรุงเทพ ฯ :
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วัลยา วิมุกตะลพ.(๒๕๑๓). การเปลี่ยนแปลงความหมายของคำสำนวน และ
ลำดับของคำในภาษาไทยสมัยรัตนโกสินทร์.วิทยานิพนธ์อ.ม. (ภาษาไทย)
กรุงเทพ ฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศรีจรุง บุญเจือ. (๒๕๔๓). นิรุกติศาสตร์. ชลบุรี : ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา.
อนุมานราชธน,พระยา. (๒๕๑๖). นิรุกติศาสตร์ ภาค ๑. พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพ ฯ : ศูนย์การทหารราบ.
อิงอร สุพันธุ์วณิช (๒๕๒๗). วิวัฒนาการอักษรและอักขรวิธีไทย. กรุงเทพ ฯ : จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย


สื่อการสอน (Materials)
1.PowerPoint
2.สื่ออิเล็กทรอนิกส์ / เว็บไซต์ / A Tutor ( Electronics and website media)
3.อื่น ๆ (Others)เอกสารประกอบการสอน, หนังสือ ตำรา บทความ

Course Online
-

ตารางการเรียนการสอน
ครั้งที่
วันที่
หัวข้อ
ห้องเรียน
วิธีการสอน
ผู้สอน
หมายเหตุ
1 13 ธ.ค. 2554 - อธิบายโครงการสอน ได้แก่ ขอบข่าย จุดมุ่งหมาย วิธีการเรียนการสอน การประเมินผล และหนังสืออ่านประกอบ
- อธิบายสังเขปประวัติการกำเนิดตัวอักษรและภาษาต่างๆรวมทั้งภาษาไทย
01020502บรรยายผศ.รุ่งฤดี แผลงศร
2 20 ธ.ค. 2554 - อธิบายวิวัฒนาการของภาษาตระกูลไท
- อธิบายกระบวนการและสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงภาษา
01020502บรรยาย, ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองผศ.รุ่งฤดี แผลงศร
3 27 ธ.ค. 2554 อธิบายวิวัฒนาการของภาษาตระกูลไท
- อธิบายกระบวนการและสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงภาษา
01020502บรรยาย, ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองผศ.รุ่งฤดี แผลงศร
  
 
หมายเหตุการเปลี่ยนแปลง
แผนการสอนนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
เงื่อนไขของวิชา
1.นิสิตต้องเข้าเรียนไม่ต่ำกว่า 80 % ของเวลาเรียน มิฉะนั้นไม่มีสิทธิเข้าสอบปลายภาค
2.การส่งรายงานแต่ละครั้งเป็นไปตามกำหนดที่อาจารย์และนิสิตตกลงกันในชั้นเรียน หากไม่ส่งงานตามกำหนดเวลา โดยไม่แจ้งให้อาจารย์ทราบล่วงหน้าหรือไม่มาติดต่อภายใน 1 สัปดาห์ นับจากการสั่งงาน ถือว่านิสิตขาดส่งงานชิ้นนั้น จะไม่มีคะแนนให้
3.การสอบเก็บคะแนนแต่ละครั้ง อาจารย์จะพยายามแจ้งล่วงหน้าทุกครั้ง หากนิสิตขาดสอบโดยไม่แจ้งล่วงหน้า หรือไม่มีเหตุจำเป็นจริงถือว่านิสิตขาดสอบครั้งนั้นและจะไม่มีคะแนนให้
ในกรณีที่นิสิตฝากใบลามาให้อาจารย์ นิสิตต้องติดตามมาสอบภายใน 1 สัปดาห์ หลังจากชั่วโมงสอบมิฉะนั้นจะหมดสิทธิ์สอบ
4.กรณีที่นิสิตมีความจำเป็นหรือป่วยไม่สามารถเข้าเรียนได้ ให้ส่งใบลาหยุดเรียนทุกครั้ง เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการสอบปลายภาค