คำอธิบายรายวิชา |
ศึกษาความสำคัญของวิชาสถิติในการวิจัยทางจิตวิทยา ธรรมชาติของข้อมูลในจิตวิทยา สังกัปทางสถิติและวิธีการคำนวณทั้งด้วยมือและโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป เพื่อจัดกระทำและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณเบื้องต้น ได้แก่ การแจกแจงความถี่ การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง การวัดการกระจาย คะแนนมาตรฐาน สหสัมพันธ์และการทำนายอย่างง่าย รวมทั้งการทดสอบสมมติฐานที่เกี่ยวข้องกับค่าสถิติดังกล่าว มีการศึกษาตัวอย่างการใช้สถิติในงานวิจัยทางจิตวิทยาและสารสนเทศที่พบในชีวิตประจำวัน เพื่อประเมินความถูกต้องเหมาะสมของการใช้สถิติทั้งในแง่หลักวิชาสถิติและผลกระทบเชิงจริยธรรม |
|
ผู้สอน |
|
ชื่อ-สกุล |
อีเมล์ |
เวลานิสิตเข้าพบ |
 | อาจารย์ภิญญาพันธ์ ร่วมชาติ | pinyapan@swu.ac.th |
วันศุกร์ เวลา 10.00 - 11.30 น. |
|
|
|
|
วัตถุประสงค์ |
1. เพื่อให้นิสิตมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับสถิติในการวิจัยทางจิตวิทยาและสารสนเทศที่พบในชีวิตประจำวัน 2. เพื่อให้นิสิตสามารถเลือกใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับวัตถุประสงค์และสมมติฐานของการวิจัยทางจิตวิทยา 3. เพื่อให้นิสิตสามารถจัดกระทำและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยวิธีการคำนวณมือและการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปได้ตลอดจนแปลผลการวิเคราะห์ข้อมูลได้ 4. เพื่อให้นิสิตสามารถประเมินความถูกต้องเหมาะสมของการใช้สถิติในงานวิจัยทางจิตวิทยาและสารสนเทศที่พบในชีวิตประจำวัน 5. เพื่อให้นิสิตตระหนักถึงจรรยาบรรณของนักวิจัยและนักจิตวิทยาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดกระทำและวิเคราะห์ข้อมูลตลอดจนการแปลความหมายของข้อมูล |
|
การประเมินผลการเรียน |
- จิตพิสัย 10% ประกอบด้วย ความตรงต่อเวลา 2% ความประพฤติเหมาะสมและการแต่งกายเหมาะสม 2% การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน 2% การสื่อสารภาษาไทยได้ถูกต้องมีประสิทธิภาพเหมาะสมกับกาลเทศะ 2% และความซื่อสัตย์ 2% - งานกลุ่มที่มอบหมาย 20% - สอบกลางภาค 30% - สอบปลายภาค 40%
|
|
เกณฑ์การพิจารณาตัดเกรด |
85 ขึ้นไป A 80-84 B+ 75-79 B 70-74 C+ 65-69 C 60-64 D+ 55-59 D ต่ำกว่า 55 E
|
|
เอกสารและสื่อที่ใช้ประกอบการสอน |
1. เอกสารประกอบการบรรยาย 2. กัลยา วานิชย์บัญชา. (2544). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ: ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 3. กัลยา วานิชย์บัญชา. (2548). สถิติสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพฯ: ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย . 4. กัลยา วานิชย์บัญชา. (2553). หลักสถิติ. กรุงเทพฯ: ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย . 5. จรัญ จันทลักขณา; และ กษิดิศ อื้อเชี่ยวชาญกิจ. (2551). คัมภีร์การวิจัยและการเผยแพร่สู่นานาชาติ. นนทบุรี: นิติธรรมการพิมพ์. 6. ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2541). เทคนิคการใช้สิถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: เทพเนรมิตการพิมพ์. 7. บุญเรียง ขจรศิลป์. (2545). สถิติวิจัย I. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 8. บุญเรียง ขจรศิลป์. (2548). การวิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูลในการวิจัยโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows Version 10-12. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 9. ประคอง กรรณสูต. (2540). สถิติศาสตร์ประยุกต์สำหรับครู. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช. 10. พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2549). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มีสท์. 11. พิศิษฐ ตัณฑวณิช. (2553). สถิติเพื่องานวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: บุ๊ค พอยท์. 12. ระพินทร์ โพธิ์ศรี. (2551). สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 13. ล้วน สายยศ; และอังคณา สายยศ. (2553). สถิติวิทยาทางการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น. 14. ลัดดาวัลย์ เกษมเนตร. (2551). สิถิติเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 15. ศิริชัย กาญจนวาสี; ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์; และ ดิเรก ศรีสุโข. (2544). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: บุญศิริการพิมพ์. 16. องอาจ นัยพัฒน์. (2548). วิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการวัดผลและการวิจัยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 17. Howell, David C. (2011). Fundamental Statistics for the Behavioral Sciences. 7th ed. California : Thomson Wadsworth. 18. Gravetter, Frederick J; & Wallnau, Larry B. (2011). Essentials of Statistics for the Behavioral Sciences. 7th ed. California : Thomson Wadsworth.
|
|
Course Online |
- |
|
ตารางการเรียนการสอน |
1 |
30 ต.ค. 2555 |
1. อธิบาย Course syllabus / แนะนำวิธีการเรียน และสร้างข้อตกลงร่วมกันในการเรียน 2. สถิติกับการวิจัยทางจิตวิทยา 2.1) การวิจัยทางจิตวิทยา 2.2) ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับสถิติ 2.3) ความสำคัญของสถิติในการวิจัยทางจิตวิทยาและสารสนเทศที่พบในชีวิตประจำวัน 2.4) จรรยาบรรณของนักวิจัยและนักจิตวิทยาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดกระทำและวิเคราะห์ข้อมูลตลอดจนการแปลความหมายของข้อมูล
|
02230404 | บรรยาย | อ.ภิญญาพันธ์ ร่วมชาติ |
|
2 |
6 พ.ย. 2555 |
2. สถิติกับการวิจัยทางจิตวิทยา (ต่อ) 2.1) การวิจัยทางจิตวิทยา 2.2) ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับสถิติ 2.3) ความสำคัญของสถิติในการวิจัยทางจิตวิทยาและสารสนเทศที่พบในชีวิตประจำวัน 2.4) จรรยาบรรณของนักวิจัยและนักจิตวิทยาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดกระทำและวิเคราะห์ข้อมูลตลอดจนการแปลความหมายของข้อมูล 3. พื้นฐานทางคณิตศาสตร์
|
02230401 | บรรยาย | อ.ภิญญาพันธ์ ร่วมชาติ |
|
3 |
13 พ.ย. 2555 |
4. การแจกแจงความถี่ 4.1) ตารางแจกแจงความถี่ 4.1.1) การแจกแจงความถี่สำหรับตัวแปรที่มีการวัดระดับ อันตรภาค-อัตราส่วน 4.1.2) การแจกแจงความถี่สำหรับตัวแปรที่มีการวัดระดับนามบัญญัติและเรียงลำดับ
|
02230404 | บรรยาย, ฝึกปฏิบัติ | อ.ภิญญาพันธ์ ร่วมชาติ |
|
4 |
20 พ.ย. 2555 |
4.2) กราฟ 4.2.1) กราฟสำหรับตัวแปรอันตรภาค-อัตราส่วน 4.2.2) กราฟสำหรับตัวแปรนามบัญญัติ-เรียงลำดับ 4.3) ตัวอย่างรูปร่างของการแจกแจงความถี่
|
02230401 | บรรยาย, ฝึกปฏิบัติ | อ.ภิญญาพันธ์ ร่วมชาติ |
,มีการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อสาธิตการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการแจกแจงความถี่และการสร้างกราฟ |
5 |
27 พ.ย. 2555 |
5. การวัดตำแหน่งและการเปรียบเทียบ 5.1) ลักษณะของอัตราส่วน สัดส่วนและร้อยละในแง่ของสถิติ 5.2) เปอร์เซ็นไทล์
|
02230401 | บรรยาย, ฝึกปฏิบัติ | อ.ภิญญาพันธ์ ร่วมชาติ |
|
6 |
4 ธ.ค. 2555 |
6. การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง 6.1) ค่าเฉลี่ย 6.2) มัธยฐาน 6.3) ฐานนิยม 6.4) ความสัมพันธ์ระหว่างค่าเฉลี่ย มัธยฐาน และฐานนิยม 6.5) การเลือกใช้วิธีการวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง
|
02230401 | บรรยาย, ฝึกปฏิบัติ | อ.ภิญญาพันธ์ ร่วมชาติ |
|
7 |
11 ธ.ค. 2555 |
6. การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง(ต่อ) 6.1) ค่าเฉลี่ย 6.2) มัธยฐาน 6.3) ฐานนิยม 6.4) ความสัมพันธ์ระหว่างค่าเฉลี่ย มัธยฐาน และฐานนิยม 6.5) การเลือกใช้วิธีการวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง
|
02230401 | บรรยาย, ฝึกปฏิบัติ | อ.ภิญญาพันธ์ ร่วมชาติ |
มีการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อสาธิตการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการหาเปอร์เซ็นไทล์และค่าการวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง |
8 |
18 ธ.ค. 2555 |
7. การวัดการกระจาย 7.1) พิสัย 7.2) ส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์ 7.3) ความแปรปรวนและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 7.4) สัมประสิทธิ์ความแปรผัน
|
02230401 | บรรยาย, ฝึกปฏิบัติ | อ.ภิญญาพันธ์ ร่วมชาติ |
|
9 |
25 ธ.ค. 2555 |
สอบกลางภาค |
02230401 | สอบกลางภาค | อ.ภิญญาพันธ์ ร่วมชาติ |
สอบกลางภาคตามเวลาเรียน |
10 |
1 ม.ค. 2556 |
7. การวัดการกระจาย (ต่อ) 7.1) พิสัย 7.2) ส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์ 7.3) ความแปรปรวนและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 7.4) สัมประสิทธิ์ความแปรผัน
|
02230401 | ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง | อ.ภิญญาพันธ์ ร่วมชาติ |
ไม่เข้าชั้นเรียนเนื่องจากเป็นวันหยุดราชการ |
11 |
8 ม.ค. 2556 |
8. การแจกแจงปกติ 8.1) โค้งปกติ 8.2) คุณสมบัติที่สำคัญของโค้งปกติ 8.3) การหาพื้นที่ใต้โค้งปกติ
|
02230401 | บรรยาย, ฝึกปฏิบัติ | อ.ภิญญาพันธ์ ร่วมชาติ |
มีการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับสาธิตการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการหาค่าการกระจายและคะแนนมาตรฐาน |
12 |
15 ม.ค. 2556 |
9. การทดสอบสมมติฐาน 9.1) ความหมายของสมมติฐาน 9.2) ประเภทของสมมติฐาน 9.3) ขั้นตอนการทดสอบสมมติฐาน 9.4) ชนิดของความคลาดเคลื่อน 9.5) ระดับนัยสำคัญ 9.6) การทดสอบสมมติฐานแบบมีทิศทางและแบบไม่มีทิศทาง
|
02230401 | บรรยาย, ฝึกปฏิบัติ | อ.ภิญญาพันธ์ ร่วมชาติ |
|
13 |
22 ม.ค. 2556 |
10. การทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับค่าเฉลี่ย 10.1) การทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับค่าเฉลี่ยของประชากรเดียว 10.2) การทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับผลต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของสองประชากร
|
02230401 | บรรยาย, ฝึกปฏิบัติ | อ.ภิญญาพันธ์ ร่วมชาติ |
มีการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับสาธิตการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับค่าเฉลี่ย |
14 |
29 ม.ค. 2556 |
10. การทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับค่าเฉลี่ย (ต่อ) 10.1) การทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับค่าเฉลี่ยของประชากรเดียว 10.2) การทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับผลต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของสองประชากร 11. สหสัมพันธ์และการพยากรณ์ 11.1) ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสองตัวเมื่อมีการวัดในระดับอันตรภาคหรืออัตราส่วน 11.2) ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสองตัวเมื่อมีการวัดในระดับเรียงลำดับ 11.3) ความสัมพันธ์ระหว่างสองตัวแปรเมื่อมีการวัดในระดับนามบัญญัติ 11.4) การถดถอยและการพยากรณ์
|
02230401 | บรรยาย, ฝึกปฏิบัติ | อ.ภิญญาพันธ์ ร่วมชาติ |
มีการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับสาธิตการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับค่าเฉลี่ย (ต่อ) และการทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรและการวิเคราะห์การถดถอย |
15 |
5 ก.พ. 2556 |
11. สหสัมพันธ์และการพยากรณ์ (ต่อ) 11.1) ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสองตัวเมื่อมีการวัดในระดับอันตรภาคหรืออัตราส่วน 11.2) ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสองตัวเมื่อมีการวัดในระดับเรียงลำดับ 11.3) ความสัมพันธ์ระหว่างสองตัวแปรเมื่อมีการวัดในระดับนามบัญญัติ 11.4) การถดถอยและการพยากรณ์
|
02230401 | บรรยาย, ฝึกปฏิบัติ | อ.ภิญญาพันธ์ ร่วมชาติ |
มีการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับสาธิตการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับค่าเฉลี่ย (ต่อ) และการทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรและการวิเคราะห์การถดถอย |
16 |
12 ก.พ. 2556 |
ทบทวนบทเรียน |
02230401 | บรรยาย, ฝึกปฏิบัติ | อ.ภิญญาพันธ์ ร่วมชาติ |
ให้มาเรียนที่ห้องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่เวลา 9.30 น. ไม่ต้องเข้าห้องบรรยาย มีการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับสาธิตการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป |
17 |
19 ก.พ. 2556 |
สอบปลายภาค |
02230404 | สอบปลายภาค | อ.ภิญญาพันธ์ ร่วมชาติ |
สอบปลายภาคตามเวลาเรียน |
|
หมายเหตุการเปลี่ยนแปลง |
แผนการสอนนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม |