ประมวลการสอนรายวิชา

ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์

รหัสวิชา HI301 ชื่อวิชา HISTORIOGRAPHY  จำนวนหน่วยกิต 3 

ภาคการศึกษาที่ 2/2557


           ข้อมูลเกี่ยวกับวิชา

รหัสวิชา HI301
ชื่อวิชาภาษาไทย ประวัติศาสตร์นิพนธ์
ชื่อวิชาภาษาอังกฤษ HISTORIOGRAPHY
ตอนที่ B01
ระดับ ปริญญาตรี

คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาประวัติศาสตร์ในฐานะเป็นกระบวนการที่ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับอดีตได้รับการผลิตและนำเสนอผ่านงานเขียนทางประวัติศาสตร์ทั้งในโลกตะวันตกและไทยตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 18 ถึงปัจจุบัน โดยเน้นการวิเคราะห์และอภิปรายเกี่ยวกับปรัชญาและวิธีวิทยาต่างๆซึ่งมีอิทธิพลต่อการมองอดีตและการเขียนงานทางประวัติศาสตร์ รวมทั้งพัฒนาการของการเขียนงานทางประวัติศาสตร์ซึ่งเกิดขึ้นควบคู่กับความเปลี่ยนแปลงทางสังคม

ผู้สอน
  ชื่อ-สกุล อีเมล์ เวลานิสิตเข้าพบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศิริพร ดาบเพชรsdabphet@swu.ac.th วันพุธ 11.-30 - 12.30 น.
 
ห้องเรียน  -  เวลาเรียน:
01110703 พ. 08:30-11:20

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจปรัชญาและวิธีวิทยาต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเขียนงานทางประวัติศาสตร์
2. เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักงานเขียนทางประวัติศาสตร์ประเภทต่างๆ ทั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันโดยสังเขป
3. เพื่อให้ผู้เรียนมีพื้นฐานการอ่านงานเขียนทางประวัติศาสตร์อย่างมีวิจารณญาณ นำความรู้มาวิเคราะห์งานเขียนประวัติศาสตร์ และเตรียมตัวสำหรับการทำวิจัยต่อไป
 
การประเมินผลการเรียน
1. การเข้าห้องเรียน (5 คะแนน ) การอภิปรายในชั้นเรียนและทดสอบย่อย (10 คะแนน) 15 คะแนน
2. งานกลุ่ม 2 ชิ้น ( 4-5 คน) (รวมเนื้อหาและการนำเสนอในชั้นเรียน) 20 คะแนน
3. งานเดี่ยว 1 ชิ้น ( เค้าโครงวิจัย 10 - 12 หน้า ) 10 คะแนน
4. สอบกลางภาค 25 คะแนน
5. สอบปลายภาค 30 คะแนน

เกณฑ์การพิจารณาตัดเกรด
100-80= A 79-75 = B+ 74-70 = B 69-65 = C+ 64-60 = C
59-55 = D+ 54 - 50 =D 49-0 =E

เอกสารและสื่อที่ใช้ประกอบการสอน
1. ตำราและเอกสารหลัก
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และสุชาติ สวัสดิ์ศรี, บรรณาธิการ. ปรัชญาประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ : สังคมศาสตร์ปริทัศน์, 2519.
นาฎวิภา ชลิตานนท์. ประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2524.
นิธิ เอียวศรีวงศ์และอาคม พัฒิยะ. หลักฐานประวัติศาสตร์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : บรรณกิจ.2525.
อาร์โนลด์, จอห์น เอช. ประวัติศาสตร์ของประวัติศาสตร์. แปลโดย ไชยันต์ รัชชกูล. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. 2549.
วงเดือน นาราสัจจ์. ประวัติศาสตร์: วิธีการและพัฒนาการ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.2548.
อดิศร ศักดิ์สูง. ความคิดทางประวัติศาสตร์และวิธีวิทยาวิจัย. สงขลา: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยทักษิณ. 2552.

2. เอกสารและข้อมูลสำคัญ
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และสุชาติ สวัสดิ์ศรี, บรรณาธิการ. ประวัติศาสตร์และนักประวัติศาสตร์ไทย. กรุงเทพฯ: ประพันธ์สาส์น.
2519.
วนิดา ทัทเทิล. ประวัติศาสตร์นิพนธ์โลกตะวันตก. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2555.
วิศรุต พึ่งสุนทร. ประวัติศาสตร์นิพนธ์ตะวันตกก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 20. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2556.
สมเกียรติ วันทะนะ. บทความประกอบการสัมมนากึ่งศตวรรษธรรมศาสตร์: 2477-2527 ประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทยสมัยใหม่.
กรุงเทพฯ: สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2527.
อานันท์ กาญจนพันธุ์. ความคิดทางประวัติศาสตร์และศาสตร์ของวิธีคิด: รวมบทความทางประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ: อมรินทร์.
2543.
3.เอกสารและข้อมูลแนะนำ
กอร์เดอร์, โยสไตน์. โลกของโซฟี : เส้นทางจินตนาการสู่ประวัติศาสตร์ปรัชญา. กรุงเทพฯ: คบไฟ. 2539.
ธงชัย วินิจจะกูล. การเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ของอดีต: ประวัติศาสตร์ใหม่ในประเทศไทยหลัง 14 ตุลาคม. ใน ฉัตรทิพย์ นาถสุภา,
บรรณาธิการ. สถานภาพไทยศึกษา: การสำรวจเชิงวิพากษ์. เชียงใหม่: ซิลค์เวอร์ม. 2543.
ฉัตรทิพย์ นาถสุภาและสมภพ มานะรังสรรค์, บรรณาธิการ. ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทยจนถึง 2484. กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2527.
ธงชัย วินิจจะกูล. การศึกษาประวัติศาสตร์แบบ postmodern. ใน กาญจนี ละอองศรี และธเนศ อาภรณ์สุวรรณ, บรรณาธิการ.
ลืมโคตรเหง้าก็เผาแผ่นดิน: รวมบทความเนื่องในวาระครบรอบ 60 ปี ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. หน้า 351 – 390. กรุงเทพฯ: มติชน, 2544.
ธงชัย วินิจจะกูล. ประวัติศาสตร์ไทยแบบราชาชาตินิยม. ศิลปวัฒนธรรม 23,1 (พฤศจิกายน 2544): 56-65.
ธิดา สาระยา. ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ. 2529. บท “จากการเมืองทางปัญญาสู่ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น”และ
“ประวัติศาสตร์จากภายใน”
นิธิ เอียวศรีวงศ์. กรุงแตก, พระเจ้าตากฯ และประวัติศาสตร์ไทย : ว่าด้วยประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์นิพนธ์. กรุงเทพฯ: มติชน. 2538. บท 1. 200 ปี ของการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยและทางข้างหน้า และบท 5. จากสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีถึงสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
นิธิ เอียวศรีวงศ์. ประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ในพระราชพงศาวดารอยุธยา. กรุงเทพฯ:บรรณกิจ. 2523.
เรย์โนลดส์, เครก เจ. ความคิดแหวกแนวของไทย : จิตร ภูมิศักดิ์ และโฉมหน้าของศักดินาไทยในปัจจุบัน.
แปลโดย อัญชลี สุสายัณห์. กรุงเทพฯ: อักษรสาส์น. 2534.
เรย์โนลด์ส, เครก เจ. ประวัติศาสตร์สังคมคืออะไร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2522. (พิมพ์ซ้ำใน เจ้าสัว ขุนศึก ศักดินา ปัญญาชน และคนสามัญ. 2550 หน้า 55 – 88.)
สายชล สัตยานุรักษ์. สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ การสร้างอัตลักษณ์ “เมืองไทย” และ “ชั้น” ของชาวสยาม. กรุงเทพฯ: มติชน. 2546. บท 3 การสร้างอัตลักษณ์เมืองไทย และ บท 4 การสร้างอัตลักษณ์พระมหากษัตริย์.
สุเทพ สุนทรเภสัช. มานุษยวิทยากับประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.2540.
อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์. การเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ของชนชั้นผู้นำไทย ตั้งแต่รัชกาลที่ 4 ถึงพุทธศักราช 2475. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2541. บทที่ 2 การก่อตัวของสำนึกทางประวัติศาสตร์แบบใหม่
อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์. ประวัติศาสตร์เพื่อชุมชน : ทิศทางใหม่ของการศึกษาประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2548.
โอคาชา, ซาเมียร์ ปรัชญาวิทยาศาสตร์โดยสังเขป. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. 2549.
Lemon, M.C. Philosophy of History : A Guide for Students. London. Routledge. 2003.

Course Online
-

ตารางการเรียนการสอน
ครั้งที่
วันที่
หัวข้อ
ห้องเรียน
วิธีการสอน
ผู้สอน
หมายเหตุ
1 14 ม.ค. 2558 ประวัติศาสตร์คืออะไร? 01110703บรรยายผศ.ศิริพร ดาบเพชร
2 21 ม.ค. 2558 ประวัติศาสตร์และปรัชญาประวัติศาสตร์ 01110703บรรยายผศ.ศิริพร ดาบเพชร
3 28 ม.ค. 2558 ประวัติศาสตร์นิพนธ์ในโลกตะวันตกก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 18 01110703บรรยายผศ.ศิริพร ดาบเพชร
4 4 ก.พ. 2558 ประวัติศาสตร์นิพนธ์ในโลกตะวันตกคริสต์ศตวรรษที่ 18-19 01110703บรรยายผศ.ศิริพร ดาบเพชร
5 11 ก.พ. 2558 ประวัติศาสตร์นิพนธ์ในโลกตะวันตกคริสต์ศตวรรษที่ 20 – ปัจจุบัน 01110703บรรยายผศ.ศิริพร ดาบเพชร
6 18 ก.พ. 2558 ประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทยก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 18 01110703บรรยายผศ.ศิริพร ดาบเพชร
7 25 ก.พ. 2558 - ค้นคว้าข้อเท็จจริงจากหลักฐานชั้นต้น 01110703ฝึกปฏิบัติ, กิจกรรมกลุ่มผศ.ศิริพร ดาบเพชร
8 11 มี.ค. 2558 สอบกลางภาค 01110703สอบกลางภาคผศ.ศิริพร ดาบเพชร
9 18 มี.ค. 2558 ศึกษาดูงานที่แผนกจารึกและเอกสารโบราณ สำนักหอสมุดแห่งชาติ และสำนักหอจดหมายเหตุ 01110703ศึกษาดูงานผศ.ศิริพร ดาบเพชร
10 25 มี.ค. 2558 ประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทยในยุคเปลี่ยนผ่านและการก้าวสู่ยุคสมัยใหม่ 01110703บรรยายผศ.ศิริพร ดาบเพชร
11 1 เม.ย. 2558 ประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทยสมัยใหม่ 01110703บรรยายผศ.ศิริพร ดาบเพชร
12 8 เม.ย. 2558 อภิปรายประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทยสมัยใหม่ จากหนังสือที่อ่านในสัปดาห์ที่ 11- 12 01110703กิจกรรมกลุ่ม, สัมมนาผศ.ศิริพร ดาบเพชร
13 22 เม.ย. 2558 ประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทยสมัยใหม่ 01110703บรรยายผศ.ศิริพร ดาบเพชร
14 29 เม.ย. 2558 ประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทยปัจจุบัน 01110703บรรยายผศ.ศิริพร ดาบเพชร
15 6 พ.ค. 2558 ประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทยปัจจุบัน 01110703บรรยายผศ.ศิริพร ดาบเพชร
16 13 พ.ค. 2558 การนำเสนอรายงานกลุ่มของนิสิต 01110703กิจกรรมกลุ่มผศ.ศิริพร ดาบเพชร
17 20 พ.ค. 2558 สอบปลายภาค 01110703สอบปลายภาคผศ.ศิริพร ดาบเพชร
  
 
หมายเหตุการเปลี่ยนแปลง
-