สาขาวิชาชีวเภสัชศาสตร์
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
แผนการสอนรายวิชา
ภชภ 232 ชีวเภสัชศาสตร์ 2 4(3-3)
ประจำปีการศึกษา
2549
1.
คำอธิบายรายวิชา
เป็นวิชาที่ศึกษาระบบร่างกายมนุษย์ในแนวผสมผสานระหว่างกายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา โดยศึกษาโครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่างๆ ได้แก่ ระบบหลอดเลือดและหัวใจ ระบบหายใจ ระบบไตและทางเดินปัสสาวะ ระบบผิวหนังและระบบทางเดินอาหาร ทั้งในสภาวะปกติและผิดปกติ
2. วัตถุประสงค์
นิสิตสามารถ
- บอกชื่อ รูปร่าง ลักษณะและส่วนประกอบของเซลล์ เนื้อเยื่อและอวัยวะ ที่ประกอบเป็นระบบต่างๆของร่างกายมนุษย์ได้ ทั้งโดยการมองเห็นด้วยตาเปล่า และการส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์
- อธิบายหน้าที่ กลไกการทำงานและความสัมพันธ์ของโครงสร้างกับหน้าที่ของเซลล์ เนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ ในแต่ละระบบได้
- อธิบายความสัมพันธ์และการทำงานประสานร่วมกันของระบบต่างๆ เพื่อรักษาภาวะสมดุลปกติของร่างกาย (homeostasis) ได้
- ประยุกต์ความรู้เพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษารายวิชาต่อเนื่องต่อไปได้ เช่น เภสัชวิทยา พยาธิสรีรวิทยา เภสัช-กรรมคลินิก เป็นต้น
- สังเกต จดบันทึกและวิจารณ์ผลการทดลองในปฏิบัติการได้อย่างถูกต้องและมีเหตุผล
3. แนวคิด
3.1 เซลล์ เป็นหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต เยื่อหุ้มเซลล์มีบทบาทเกี่ยวกับการขนส่งสารผ่านเข้า-ออกเซลล์การเปลี่ยนแปลงศักย์ไฟฟ้าภายในเซลล์และภายนอกเซลล์ ซึ่งมีผลต่อการเกิดภาวะสมดุลปกติของร่างกาย
3.2 โครงสร้างร่างกายของมนุษย์ประกอบด้วย ระบบประสาท ระบบกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อต่อ ระบบไหลเวียนโลหิตและน้ำเหลือง ระบบหายใจ ระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินปัสสาวะ และระบบต่อมไร้ท่อ แต่ละระบบจะทำงานสัมพันธ์กัน เพื่อรักษาภาวะสมดุลปกติของร่างกาย
3.3 ระบบหัวใจและระบบไหลเวียนโลหิตและน้ำเหลือง ระบบไหลเวียนโลหิตมีหน้าที่ขนส่งสารต่างๆ เช่น สารอาหารที่ร่างกายต้องการ สารที่ต้องขับออกจากร่างกาย ฮอร์โมน โดยมีหัวใจเป็นอวัยวะสำคัญในการทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย การทำงานของระบบไหลเวียนโลหิตอยู่ภายใต้การควบคุมของระบบประสาทและหัวใจ ส่วนระบบน้ำเหลืองเป็นระบบรองทำหน้าที่ขนส่งไขมันและเกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
3.4 ระบบทางเดินหายใจ อยู่ภายใต้การควบคุมของระบบประสาทและฮอร์โมน กลไกการหายใจต้องอาศัยการทำงานร่วมกันของกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องและกระดูกซี่โครง เพื่อแลกเปลี่ยนแก็สออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถุงลมและหลอดเลือดฝอย
3.5 ระบบผิวหนัง เป็นระบบที่ทำหน้าที่ปกคลุมร่างกาย ช่วยในการควบคุมอุณหภูมิ ความชื้นและป้องกันอันตรายต่อเนื้อเยื่อในชั้นถัดลงมา
3.6 ระบบทางเดินอาหาร ถูกควบคุมโดยระบบประสาท ฮอร์โมน ร่วมกับการควบคุมโดยทางเดินอาหารเอง การทำงานของระบบทางเดินอาหารประกอบด้วย การเคลื่อนไหวของท่อทางเดินอาหาร การหลั่งน้ำย่อยหรือฮอร์โมน การย่อยและการดูดซึมสารอาหารและน้ำ
3.7 ระบบไตและทางเดินปัสสาวะ เกี่ยวข้องกับการรักษาสมดุลสารน้ำและอิเล็กโตรไลท์ภายในร่างกาย การขับถ่ายของเสียและสิ่งแปลกปลอมที่ร่างกายรับเข้ามา การรักษาสมดุลกรดด่าง รวมทั้งการผลิตฮอร์โมนจากไตและกระบวนการเมทาบอลิสมต่างๆ
3.8 วิชากายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของมนุษย์ เป็นพื้นฐานในการประยุกต์ใช้ในวิชาพยาธิสรีรวิทยา เภสัชวิทยาและเภสัชกรรมคลินิกต่อไป
4. กำหนดการเรียน
- ภาคบรรยาย สัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง
1. กายวิภาคศาสตร์ของระบบหลอดเลือดและหัวใจ 4 ชั่วโมง
2. สรีรวิทยาของระบบหลอดเลือดและหัวใจ 13 ชั่วโมง
3. กายวิภาคศาสตร์ของระบบทางเดินอาหาร 3 ชั่วโมง
4. สรีรวิทยาของระบบทางเดินอาหาร 8 ชั่วโมง
5. กายวิภาคศาสตร์ของระบบผิวหนัง 1 ชั่วโมง
6. กายวิภาคศาสตร์ของระบบไตและทางเดินปัสสาวะ 2 ชั่วโมง
7. สรีรวิทยาของระบบไตและทางเดินปัสสาวะ 6 ชั่วโมง
8. กายวิภาคศาสตร์ของระบบหายใจ 3 ชั่วโมง
9. สรีรวิทยาของระบบหายใจ 5 ชั่วโมง
10. special topic 3 ชั่วโมง
รวม 48 ชั่วโมง
- ภาคปฏิบัติการ สัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง (1 คาบ)
เริ่มด้วยปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์ แล้วตามด้วยปฏิบัติการสรีรวิทยา โดยเนื้อหาทางปฏิบัติการสัมพันธ์กับเนื้อหาในภาคบรรยาย
1. กายวิภาคศาสตร์ของระบบหลอดเลือดและหัวใจ 2 คาบ
2. สรีรวิทยาของระบบหลอดเลือดและหัวใจ 2 คาบ
3. กายวิภาคศาสตร์ของระบบทางเดินอาหาร 1 คาบ
4. สรีรวิทยาของระบบทางเดินอาหาร (ปฏิบัติการ+conference) 2 คาบ
5. กายวิภาคศาสตร์ของระบบไตและทางเดินปัสสาวะ 1 คาบ
6. สรีรวิทยาของระบบระบบไตและทางเดินปัสสาวะ (ปฏิบัติการ+conference) 2 คาบ
7. กายวิภาคศาสตร์ของระบบทางเดินหายใจ 1 คาบ
8. สรีรวิทยาของระบบทางเดินหายใจ (ปฏิบัติการ+conference) 2 คาบ
9. กายวิภาคศาสตร์ของระบบผิวหนัง 1 คาบ
รวม 14 คาบ
5. กิจกรรมการเรียนการสอน
5.1 บรรยายและซักถาม และกรณีศึกษา
5.2 ปฏิบัติการและอภิปราย
6. สื่อการสอนและหนังสืออ่านประกอบ
- สื่อการสอน
1. แผ่นใสและเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ
2. LCD projector
3. วีดิทัศน์
4. สไลด์และเครื่องฉายสไลด์
5. คอมพิวเตอร์และโปรแกรม MacLab
6. เครื่องมือปฏิบัติการ, แผ่นสไลด์เนื้อเยื่อ
7. สัตว์ทดลอง
8. นิสิต
- หนังสืออ่านประกอบ
1. บุญเทียม คงศักดิ์ตระกูล, ยุวดี วงศ์กระจ่าง. ระบบทางเดินหายใจ. ภาควิชาสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.
2. วิสุดา สุวิทยาวัฒน์. ระบบทางเดินปัสสาวะ. ภาควิชาสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
3. เพ็ญโฉม พึ่งวิชา, ยุวดี วงศ์กระจ่าง, สุจิตรา ทองประดิษฐ์โชติ. ระบบทางเดินอาหาร, ภาควิชาสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
4. สุวรรณ ธีระวรพันธ์, วิสุดา สุวิทยาวัฒน์, เพ็ญโฉม พึ่งวิชา. สรีรวิทยาของระบบไหลเวียนโลหิต.
ภาควิชาสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
5. วินิดา บัณฑิต, อรศรี รมยะนันทน์, สุจินต์ อึ้งถาวร. วิทยาฮิสโต 1: เซลล์และเนื้อเยื่อพื้นฐาน. กทม: คณะแพทย-ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535.
6. วินิดา บัณฑิต, อรศรี รมยะนันทน์, สุจินต์ อึ้งถาวร. วิทยาฮิสโต 2: อวัยวะในระบบ. กทม: คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539.
7. วิไล ชินธเนศ, ธันวา ตันสถิตย์, มนตกานต์ ตันสถิตย์. กายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์. กทม: ภาควิชากาย-วิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539.
8.
Ganong WF. Review of medical physiology. 7th
ed.
9.
Gosling JA, Harris PF, Humpherson JR, Whitmore I,
Willan PLT. Human anatomy color atlas and text. 3rd ed.
10.
Guyton AC, Hall JE. Textbook of medical physiology. 10th
ed.
11.
12.
Vander AJ, Sheman JH, Luciano DS. Human physiology. 6th
ed.
13.
Young B, Heath JW, Functional Histology. 4th
ed.
7. การวัดและประเมินผล
7.1 การวัดผลและการประเมินผลการเรียนของผู้เรียน
ภาคบรรยาย 80% และ ภาคปฏิบัติการ 20%
สอบครั้งที่ 1 มีชั่วโมงบรรยาย 17 ชั่วโมง = 28.33 %
สอบครั้งที่ 2 มีชั่วโมงบรรยาย 14 ชั่วโมง = 23.34 %
สอบครั้งที่ 3 มีชั่วโมงบรรยาย 17 ชั่วโมง = 28.33 %
รวม 48 ชั่วโมง = 80 %
ภาคบรรยาย 1 ชั่วโมงคิดเป็นข้อสอบ 6 คะแนน ถ้าเป็นปรนัยจะมี 4 ตัวเลือก
สอบครั้งที่ 1 หัวข้อ Anatomy of CVS & GI = 5 %
สอบครั้งที่ 2 หัวข้อ Anatomy of KUB & Respiratory system = 5 %
Lab & Conference lab ทุกครั้งเฉลี่ย = 10 %
ก. Lab
- การทดสอบย่อย (Quiz) 2% = 5 คะแนน
- ความพร้อมในการเข้าปฏิบัติการ (Performance) 3% = 5 คะแนน
- การเข้าปฏิบัติการ = 1 คะแนน
- ความเรียบร้อยในการแต่งกาย = 1 คะแนน
- ความร่วมมือ = 3 คะแนน
- รายงานปฏิบัติการ (Report) 5% = 10 คะแนน
- บทนำ วัตถุประสงค์ วัสดุอุปกรณ์ และวิธีทดลอง = 2 คะแนน
- ผลการทดลอง = 4 คะแนน
- วิเคราะห์และสรุปผล = 4 คะแนน
ข. Conference lab
- การทดสอบย่อย (Quiz) 2% = 5 คะแนน
- Present 8% = 10 คะแนน
- วิธีการนำเสนอ = 1 คะแนน
- เนื้อหาที่นำเสนอ = 2 คะแนน
- การตอบคำถาม = 2 คะแนน
- ความร่วมมือ = 1 คะแนน
- การเข้า conference = 3 คะแนน
- การแต่งกาย = 1 คะแนน
- รายงาน = 2 คะแนน
รวม Lab & Conference lab ทุกครั้งเฉลี่ยเป็น =
10%
7.2 การประเมินผลการสอนของผู้สอน
หลังจบการเรียนการสอนทุกหัวข้อ การสอบแต่ละครั้ง และคาบสุดท้ายของชั่วโมงปฏิบัติการ จะประเมินประสิทธิภาพการสอนของอาจารย์ผู้สอน โดยนิสิตเป็นผู้ทำแบบประเมิน เพื่อผู้สอนจะได้ใช้ปรับปรุงการเรียนการสอนต่อไป
8. รายนามผู้สอน
1. รศ.ดร.สุวรรณ ธีระวรพันธ์
1. รศ.ภญ. ปราณี ใจอาจ
2. อ.ดร. ฤทธิ์ วัฒนชัยยิ่งเจริญ
3. อ.ดร.ภญ. วิมล พันธุเวทย์
4. อ.สพญ.พนิดา แจ่มผล
5. อ.ดร.ภญ.
อมรทัศน์ สดใส
6. อ. อรวินท์ พร่างแสงทอง
7. อ.มุทิตา หิรัญสาย
8. อ.ภก. ธวัชชัย ลีลาวิทยานนท์
9. อาจารย์ผู้รับผิดชอบวิชา อ.ภก.
ธวัชชัย ลีลาวิทยานนท์, อ.อรวินท์ พร่างแสงทอง
ตารางสอนวิชาภชภ 232 ชีวเภสัชศาสตร์ 2 4(3-3)
ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2549
คณะเภสัชศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
สถานที่เรียน : ห้อง 307
อาคารคณะเภสัชศาสตร์
ห้องปฏิบัติการ : ห้องปฏิบัติการ
404
เวลาเรียน : วันอังคาร 09.30-12.20 น. และ วันพฤหัสบดี13.30-16.20 น.
ผู้ประสานงานรายวิชา : อ.ภก.
Date |
Time |
Topic |
Lecturer |
Tue 31 Oct 06 |
09.30-10.20 |
Introduction to course |
อ.ภก. |
10.30-12.20 |
Anatomy of cardiovascular and lymphatic system I |
อ.มุทิตา หิรัญสาย |
|
Thu 2 Nov 06 |
13.30-15.20 |
Anatomy of cardiovascular and lymphatic system II |
อ.มุทิตา หิรัญสาย |
15.30-16.20 |
Blood and haemostasis |
อ.มุทิตา หิรัญสาย |
|
Tue 7 Nov 06 |
08.30-12.20 |
Physiology of cardiovascular and lymphatic system I |
รศ.ดร. |
Thu 9 Nov 06 |
13.30-16.20 |
Physiology of cardiovascular and lymphatic system II |
รศ.ดร. |
*Mon 13 Nov 06 |
13.30-16.20 |
Lab I : Anatomy of CVS I Lab II : Anatomy of CVS II |
Staff |
*Tue 14 Nov 06 |
08.00 |
ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่สัตว์ทดลอง |
|
Thu 16 Nov 06 |
13.30-17.20 |
Physiology of cardiovascular and lymphatic system III |
รศ.ดร. |
Tue 21 Nov 06 |
09.30-12.20 |
Lab III : Physiology of CVS I |
Staff |
Thu 23 Nov 06 |
13.30-16.20 |
Lab IV : Physiology of CVS II |
Staff |
*Mon 27 Nov 06 |
13.3016.20 |
Anatomy of Gastrointestinal (GI) system |
อ.อรวินท์ พร่างแสงทอง |
Tue 28 Nov 06 |
09.30-12.20 |
ไม่มีการเรียนการสอน |
|
Thu 30 Nov 06 |
13.30-16.20 |
Lab V : Anatomy of GI system |
Staff |
*Mon 4 Dec 06 |
13.30-16.00 |
สอบครั้งที่ 1 lecture: Anatomy & Physiology
of CVS |
Staff |
Tue 5 Dec 06 |
วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว |
||
Thu 7 Dec 06 |
13.30-15.20 |
Physiology of GI system I (motility) |
อ.อรวินท์
พร่างแสงทอง |
|
15.30-17.20 |
Physiology of GI system II (secretion) |
อ.ภก. |
Tue 12 Dec 06 |
08.30-10.20 |
Physiology of GI system III (digestion and absorption) |
อ.ภก. |
10.30-12.20 |
Physiology of GI system IV (liver) |
อ.อรวินท์ พร่างแสงทอง |
|
Thu 14 Dec 06 |
13.30-16.20 |
Lab VI : physiology of GI system and conference Lab VI |
Staff |
Tue 19 Dec 06 |
09.30-11.20 |
Anatomy of kidney-urinary bladder system (KUB) |
อ.มุทิตา
หิรัญสาย |
11.30-12.20 |
Anatomy of integumentary system |
สพญ.พนิดา
แจ่มผล |
|
Thu 21 Dec 06 |
13.30-16.20 |
Lab VII : Anatomy of KUB |
Staff |
Lab VIII : Anatomy of integumentary system |
Staff |
||
|
|
|
|
|
|
|
|
Date |
Time |
Topic |
Lecturer |
สอบครั้งที่
2 Midterm
examination 25 31 Dec 06 (Anatomy of GI Anatomy of integumentary system) สอบปฏิบัติการครั้งที่
1 (CVS
- GI) |
|||
Tue 2 Jan 07 |
หยุดชดเชยวันขึ้นปีใหม่ |
||
Thu 4 Jan 07 |
13.30-16.20 |
Physiology of KUB I |
อ.มุทิตา
หิรัญสาย |
Tue 9 Jan 07 |
09.30-12.20 |
Physiology of KUB II |
อ.มุทิตา
หิรัญสาย |
Thu 11 Jan 07 |
13.30-16.20 |
Lab IX : Physiology of KUB |
Staff |
Tue 16 Jan 07 |
งดการเรียนการสอนเนื่องในงานกีฬามหาวิทยาลัย
|
||
Thu 18 Jan 07 |
|||
Tue 23 Jan 07 |
|||
Thu 25 Jan 07 |
|||
Tue 30 Jan 07 |
08.30-12.20 |
Conference : physiology of KUB |
Staff |
Thu 1 Feb 07 |
13.30-16.20 |
Anatomy of respiratory system |
อ.อรวินท์
พร่างแสงทอง |
Tue 6 Feb 07 |
09.30-12.20 |
Lab X : Anatomy of respiratory system |
Staff |
Thu 8 Feb 07 |
13.30-16.20 |
Physiology of respiratory system I |
อ.ดร. |
Tue 13 Feb 07 |
09.30-11.20 |
Physiology of respiratory system II |
อ.ดร. |
Thu 15 Feb 07 |
13.30-16.20 |
Lab XI : Physiology of respiratory system |
Staff |
Tue 19 Feb 07 |
08.30-12.20 |
Conference : physiology of respiratory system |
Staff |
Thu 22 Feb 07 |
13.30-14.20 |
สรีรวิทยาของการออกกำลังกาย |
รศ. |
14.30-16.20 |
Special topic (aging) |
รศ. |
|
สอบครั้งที่
3 Final
examination 26 Feb 07 11 Mar 07 (Physiology of KUB Special topic) สอบปฏิบัติการครั้งที่
2 (KUB
Respiratory system) |