แผนการสอนรายวิชา

เภสัชกรรมและการสาธารณสุข (Pharmacy and Public health)

ปีการศึกษา 2549

สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิกและเภสัชกรรมสังคม

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

1.      คำอธิบายรายวิชา

หลักการและแนวความคิดเกี่ยวกับการสาธารณสุข การกำหนดนโยบาย การนำนโยบายไปปฏิบัติและการประเมินผลงานด้านสาธารณสุขโดยศึกษาเน้นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับยาและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น นโยบายแห่งชาติด้านยา การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข งานเภสัชกรรมในงานสาธารณสุขมูลฐาน ระบาดวิทยาทางยาและเศรษฐศาสตร์ทางยาเป็นต้น

2.      วัตถุประสงค์  เพื่อให้นิสิตทราบ

2.1      ความหมายและแนวคิดของระบบสาธารณสุข

2.2      องค์ประกอบของระบบสาธารณสุข

2.3      โครงสร้างองค์กรและการบริหารงานสาธารณสุข

2.4      งานเภสัชกรรมในระบบสาธารณสุข

2.5      ปัญหาสาธารณสุขและแนวโน้มของปัญหาสาธารณสุข

2.6      กระบวนการและเครื่องมือที่ใช้ในการแก้ปัญหาทางสาธารณสุข

3.         กำหนดการเรียน

วันจันทร์ เวลา 13.30-16.30 น. ณ ห้อง 307 อาคารคณะเภสัชศาสตร์

4.      กิจกรรมการเรียนการสอน

4.1      การบรรยาย อภิปราย ซักถาม

4.2      การศึกษาดูงาน

4.3      การทำงานที่มอบหมายทั้งในและนอกห้องเรียน

5.      สื่อการสอนและแหล่งข้อมูลในการเรียนรู้

5.1   สื่อการสอน

1)    Power point

2)    แผ่นใสและเครื่องฉายแผ่นใส

3)    เอกสารประกอบการสอน

4)         Internet

5.2      แหล่งข้อมูลในการเรียนรู้

1)         กระทรวงสาธารณสุข. http://www.moph.go.th

2)         กระทรวงสาธารณสุข. การสาธารณสุขไทย พ.ศ.2544-2547. http://www.moph.go.th/ops/health%5F48/2544_2547.htm

3)         กระทรวงสาธารณสุข. แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (2545-2549). http://203.157.19.191/plan9/plan9.pdf

4)         กระทรวงสาธารณสุข. สาระสำคัญ วิสัยทัศน์ แผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบ. http://203.157.19.191/plan9/plan9.pdf

5)         ชื่นฤทัย  กาญจนะจิตรา และคณะ. สุขภาพคนไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล, 2547.

6)         ประเวศ  วะสี. ทฤษฎีใหม่ทางการแพทย์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: หมอชาวบ้าน, 2547.

7)         ไพบูลย์  โล่ห์สุนทร. ระบาดวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540.

8)         วิพุธ  พูลเจริญ. สุขภาพ: อุดมการณ์และยุทธศาสตร์ทางสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2544.

9)         มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แนวการศึกษาชุดวิชา ระบบสาธารณสุขและการวางแผน
กลยุทธ์ในการพัฒนางานสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2536.

10)     มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. เอกสารการสอนชุดวิชา ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ
การสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2539.

11)     สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ (บรรณาธิการ). ประชาสังคมกับการพัฒนาสุขภาพ: บทวิเคราะห์ทางวิชาการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2540.

12)     สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. กระทรวงสาธารณสุข. http://www.fda.moph.go.th/

13)     สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. http://ops.moph.go.th/

14)     สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. http://203.157.19.191

15)     สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. http://epid.moph.go.th/

6.      การวัดผลและประเมินผล

6.1      การวัดผล

1)         การสอบ (และงานที่มอบหมายนอกชั้นเรียน–ถ้ามี) (11 ครั้ง x 6%)  77%

-    การสอบกลางภาค (5 ครั้ง x 7%)                35%

(สัปดาห์ที่ 1-3, 5, 6)

-    การสอบปลายภาค (6 ครั้ง x 7%)               42%

(สัปดาห์ที่ 8, 10, 13-16)

2)         งานที่มอบหมายในชั้นเรียน (11 ครั้ง x 1%)                               11%

ถ้าอาจารย์ไม่มอบหมายงานให้นิสิตทำในชั้นเรียน

คะแนนส่วนนี้จะถูกนำไปรวมกับ 1)

3)         การศึกษาดูงาน                                                                     6%

-        พฤติกรรมในการศึกษาดูงาน                        2%

-        เอกสารรายงานการศึกษาดูงาน                    4%

4)    การเข้าชั้นเรียนและการมีส่วนร่วม (12 ครั้ง x 0.25% x 2)                6%

(ถ้ามีความจำเป็นที่ทำให้ไม่สามารถเข้าชั้นเรียน แจ้งให้อาจารย์ทราบ)

6.2   การประเมินผล

1)       การเรียน  ใช้การประเมินผลค่าระดับขั้น (A, B, C, D และ E) แบบอิงเกณฑ์

A             85.0% หรือมากกว่า                      B+        75.5 - 84.9%

B             70.0 - 74.9%                              C+        65.0 - 69.9%

C             60.0 - 64.9%                              D+        55.0 - 59.9%

D             55.0 - 59.9%                              E          ต่ำกว่า 50.0%

2)       การสอน  เป็นการประเมินผลโดยนิสิตและอาจารย์ในสาขาวิชา

7.       รายชื่ออาจารย์ผู้สอน

7.1      อ. นพ. สมพงษ์  จรุงจิตตานุสนธิ์                    นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครนายก
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครนายก

7.2      อ. พิมลมาศ  เชิดผล                                   กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครนายก

7.3   อ. ภก. สมจิตร  จันทร์อัมพร                         กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร

7.4   อ. ภก. ภาณุโชติ ทองยัง                            กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม

7.5   อ. ภญ. ศิตาพร  ยังคง                                 คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

7.6   ผศ. ภญ. ดร. พรรณนิภา  อกนิษฐาภิชาติ         คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

8.       ผู้ประสานงานรายวิชา

ผศ. ภญ. ดร. พรรณนิภา  อกนิษฐาภิชาติ                โทร 02-6641000 (ต่อ 1672)

Email: pannipa@swu.ac.th

อ. ดร. เบญจพร  กิ่งรุ้งเพชร์                                 โทร 02-6641000 (ต่อ 1514)

Email: benjapor@swu.ac.th

ตารางเรียนวิชาเภสัชกรรมและการสาธารณสุข ปีการศึกษา 2549

วันจันทร์ เวลา 13.30-16.30 น.

ณ ห้อง 307 อาคารคณะเภสัชศาสตร์

สัปดาห์ที่

วัน เดือน ปี

หัวข้อ/เนื้อหา

ผู้สอน

1

30 ตค. 49

ความหมายและแนวคิดของระบบสาธารณสุข

สุขภาพ

-   ความหมาย

ระบบสาธารณสุข

-        ความหมาย

-        ความสำคัญ

-        แนวคิด

-        องค์ประกอบ

-        ความสัมพันธ์กับสุขภาพและระบบอื่นๆ

อ. นพ. สมพงษ์
จรุงจิตตานุสนธิ์
(นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครนายก)

2

6 พย. 49

องค์ประกอบของระบบสาธารณสุข

-        ทรัพยากร (Resources)

-        การบริหารจัดการ (Administration/Management)

-        ผลลัพธ์ (Outcome)

ผศ. ภญ. ดร. พรรณนิภา อกนิษฐาภิชาติ

3

13 พย. 49

โครงสร้างองค์กรและการบริหารงานสาธารณสุข (1)

-        ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น

-        ความสัมพันธ์กับองค์กรอื่นที่เกี่ยวข้อง

อ. พิมลมาศ เชิดผล

4

20 พย. 49

โครงสร้างองค์กรและการบริหารงานสาธารณสุข (2)

-     ศึกษาดูงานที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครนายก

อ. พิมลมาศ เชิดผล

5

27 พย. 49

งานเภสัชกรรมในระบบสาธารณสุข (1)

ขอบเขตของงาน

-        นโยบายแห่งชาติด้านยา

-        งานสาธารณสุขมูลฐาน

-        งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข

-        งานบริการสุขภาพ

หน่วยงานเภสัชกรรมที่เกี่ยวข้อง

-        กระทรวงสาธารณสุข

-        สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด

-        สถานพยาบาลของรัฐและเอกชน

-        ร้านยา

อ. ภก. สมจิตร จันทร์อัมพร

6

4 ธค. 49

งานเภสัชกรรมในระบบสาธารณสุข (2)

เภสัชกร

-        คุณสมบัติ บทบาท หน้าที่และศักยภาพ
ของเภสัชกร

-        ปัจจัยที่มีผลต่อบทบาท หน้าที่และศักยภาพของเภสัชกร

อ. ภก. ภาณุโชติ ทองยัง

7

11 ธค. 49

หยุดชดเชยวันรัฐธรรมนูญ

8

18 ธค. 49

ปัญหาสาธารณสุขและแนวโน้มของปัญหาสาธารณสุข

ผศ. ภญ. ดร. พรรณนิภา อกนิษฐาภิชาติ

9

25-30 ธค.

สอบกลางภาค

สัปดาห์ที่

วัน เดือน ปี

หัวข้อ/เนื้อหา

ผู้สอน

10

1 มค. 50

หยุดวันขึ้นปีใหม่

11

8 มค. 50

กระบวนการและเครื่องมือที่ใช้ในการแก้ปัญหาสาธารณสุข (1)

-        การใช้คนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา

-           การเพิ่มศักยภาพให้แก่ประชาชน (Empowerment)

-           ประชาสังคม

-        การสาธารณสุขมูลฐาน

-        AIC (Appreciate Influence Control)

-        SWOT analysis

-        Mind mapping

อ. ภก. สมจิตร จันทร์อัมพร

12-13

15, 22
มค. 50

หยุดกีฬามหาวิทยาลัย

14

29 มค. 50

กระบวนการและเครื่องมือที่ใช้ในการแก้ปัญหาสาธารณสุข (2)

-        การปฏิรูปการจัดการ

-        การบริการสาธารณสุขเชิงรุก-เชิงรับ

-        การบังคับใช้กฎหมายและระเบียบต่างๆ
(Law enforcement)

อ. ภก. ภาณุโชติ ทองยัง

15

5 กพ. 50

กระบวนการและเครื่องมือที่ใช้ในการแก้ปัญหาสาธารณสุข (3)

เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข

-        การบริการสุขภาพและกลไกตลาด

-        อุปสงค์และอุปทานของบริการสุขภาพ

-        ต้นทุนของบริการสุขภาพ

-        การคลังสุขภาพ

-        การประเมินทางเศรษฐศาสตร์และประสิทธิภาพ
ทางสุขภาพ

-        การจัดสรรทรัพยากรสุขภาพ

อ. ภญ. ศิตาพร  ยังคง

16

12 กพ. 50

กระบวนการและเครื่องมือที่ใช้ในการแก้ปัญหาสาธารณสุข (4)

ระบาดวิทยา (1)

-        ความหมายของระบาดวิทยา

-        ความสัมพันธ์ของระบาดวิทยากับการสาธารณสุข

-        ขอบเขตของระบาดวิทยา

ผศ. ภญ. ดร. พรรณนิภา อกนิษฐาภิชาติ

17

19 กพ. 50

กระบวนการและเครื่องมือที่ใช้ในการแก้ปัญหาสาธารณสุข (5)

ระบาดวิทยา (2)

-        วิธีการศึกษาทางระบาดวิทยา

-        การนำระบาดวิทยาไปประยุกต์ใช้

ผศ. ภญ. ดร. พรรณนิภา อกนิษฐาภิชาติ

18-19

26 กพ. –
11 มีค. 50

สอบปลายภาค