วิชา วป 502  การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดทางพฤติกรรมศาสตร์

RB 502  Construction  and  Development  of  Measuring

Instruments  in  Behavioral  Science

 

วิชาบังคับ  หมวด ก.  2  หน่วยกิต   ภาคปลาย  ปีการศึกษา  2549

ผู้สอน        รศ.ดร.อรพินทร์     ชูชม          (oraphin@swu.ac.th)

ดร.พรรณี     บุญประกอบ      (pannee@swu.ac.th)

รศ.อัจฉรา   สุขารมณ์            (ashara@swu.ac.th)

 

ชั่วโมงเรียน             จันทร์  09.30 – 11.30 น.

ชั่วโมงการปรึกษา   จันทร์  13.00 – 15.00 .

 

 


คำอธิบายรายวิชา

                 ศึกษาหลักการ  วิธีการสร้าง  และตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวัดตัวแปรทางพฤติกรรมศาสตร์  เทคนิคต่างๆ  ในการรวบรวมข้อมูล  เช่น  การสังเกต  การสัมภาษณ์  ตลอดจนรู้จักวิธีการใช้เครื่องมือวัดต่างๆ  ในการรวบรวมและการตีความหมายของข้อมูล

 

วัตถุประสงค์

1.      เพื่อให้ผู้เรียนระบุกฎเกณฑ์และวิธีการเบื้องต้นของการวัดได้

2.      เพื่อให้ผู้เรียนสามารถสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดตัวแปรทางพฤติกรรมศาสตร์ได้

3.      เพื่อให้ผู้เรียนสามารถหาคุณภาพของเครื่องมือดังกล่าวได้

4.              เพื่อให้ผู้เรียนมีจรรยาบรรณในการสร้าง พัฒนา และใช้เครื่องมือวัดทางพฤติกรรมศาสตร์

 

เนื้อหาวิชา

1.      หลักการและทฤษฎีเกี่ยวกับการวัดทางพฤติกรรมศาสตร์

ประวัติความเป็นมาของการวัด

นิยามการวัด  measurement, assessment  และ evaluation

ระดับของการวัด

ลักษณะการวัดทางพฤติกรรมศาสตร์

ข้อควรคำนึงในการวัดทางพฤติกรรมศาสตร์

ความแตกต่างของเครื่องมือวัด (ตามวัตถุประสงค์, ตามเนื้อหา, ตามกลุ่มที่ใช้)

2.      หลักการสร้างเครื่องมือวัดชนิดต่างๆ

-แบบทดสอบ

-แบบสอบถาม

-แบบสัมภาษณ์

-แบบสังเกต

3.      วิธีการสร้างมาตรา  (Scaling  Method)  และการวัดทัศนคติ

4.      การรวบรวมข้อมูลและการตีความหมายข้อมูล

5.      การสร้างเครื่องมือวัดทางพฤติกรรมศาสตร์

เครื่องมือวัดด้านการรู้คิด (Cognitive)

เครื่องมือวัดด้านบุคลิกภาพ  อารมณ์  ความรู้สึก (Affective)

เครื่องมือวัดด้านพฤติกรรม  (Performance)

เครื่องมือวัดด้านสภาพแวดล้อม  (ปัจจัยภายนอก)

6.      การประเมินคุณภาพเครื่องมือวัด

แนวคิดทฤษฎีแบบดั้งเดิม (Classical Test Theory)

      การวิเคราะห์รายข้อ

     ความเชื่อมั่น

     ความเที่ยงตรง

แนวคิดทฤษฎีตอบสนองรายข้อ  (Item  Response  Theory)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ตารางการเรียนการสอนวิชา วป 502 30 ต.ค.2549 – 5 มี.ค.2550)

 

วัน/เดือน

หัวข้อ

ผู้รับผิดชอบ

30 ต.ค.49

แนะนำรายวิชา

ประวัติการวัด  นิยามการวัด 

ระดับการวัด  ลักษณะการวัดทางพฤติกรรมศาสตร์

ความแตกต่างของเครื่องมือวัด

(ตามวัตถุประสงค์  ตามเนื้อหา  และตามกลุ่มที่ใช้)

อรพินทร์

6 พ.ย.49

หลักการสร้าง  การใช้  และการตีความหมายข้อมูลจากแบบทดสอบ

อัจฉรา

13 พ.ย.49

หลักการสร้าง  การใช้  และการตีความหมายข้อมูลจากแบบสอบถาม

อัจฉรา

20 พ.ย.49

หลักการสร้าง  การใช้  และการตีความหมายข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์  และแบบสังเกต

อัจฉรา

27 พ.ย.49

มาตราวัดและการวัดเจตคติ

พรรณี

4 ธ.ค.49

18 ธ.ค.49

การสร้างเครื่องมือวัดด้านการรู้คิด

(cognitive) 

พรรณี

พรรณี

25 ธ.ค.49

8 ม.ค.50

การสร้างเครื่องมือวัดด้านบุคลิกภาพ

อารมณ์  ความรู้สึก  (Affective)

อัจฉรา

อัจฉรา

15 ม.ค.50

การสร้างเครื่องมือวัดด้านพฤติกรรม

(Performance)

พรรณี

22 ม.ค.50

การสร้างเครื่องมือวัดด้านสภาพแวดล้อม

(ตัวแปรภายนอก)

พรรณี

24 ม.ค.50

การวิเคราะห์รายข้อตามแนวคิด CTT

อรพินทร์

5 ก.พ.50

ความเชื่อมั่นของการวัด

อรพินทร์

12 ก.พ.50

ความเที่ยงตรง

อรพินทร์

19 ก.พ.50

เกณฑ์ปกติ  ทฤษฎีการตอบสนองรายข้อ

อรพินทร์

26 ก.พ.50

นิสิตเสนอผลงาน

อัจฉรา  อรพินทร์  พรรณี

5 มี.ค.50

สอบปลายภาค

 

 

กิจกรรมการเรียนการสอน

1.      บรรยาย/อภิปราย/รายงาน/ทำแบบฝึกหัด

2.      ให้สร้างเครื่องมือวัด  ทดลองใช้  พร้อมทั้งรายงานคุณภาพเครื่องมือที่สร้างขึ้น

 

การประเมินผลการเรียน

1.      การสร้างเครื่องมือวัดตัวแปร (งานกลุ่ม)

2.      การสร้างข้อคำถามที่ใช้วัดตัวแปรต่างๆ  เช่น   ทัศนคติ      พฤติกรรม, บุคลิกภาพ, สภาพแวดล้อม

3.      แบบฝึกหัดวิเคราะห์รายข้อและความเชื่อมั่น

4.      สอบปลายภาค

5.      การบ้านและการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน

30%

20%

 

10%

30%

10%

 

หนังสืออ้างอิง 

งามตา   วนินทานนท์  และคณะ. (2544).  การวิเคราะห์ดัชนีเชิงเหตุและผลของคุณภาพชีวิตสมรสในครอบครัวไทย.  รายงานการวิจัยฉบับที่  82  สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 

อรพินทร์   ชูชม.  (2545).  การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดทางพฤติกรรมศาสตร์.  สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อรพินทร์    ชูชม    อัจฉรา   สุขารมณ์ และวิลาสลักษณ์  ชัววัลลี (2542).  การพัฒนาแบบวัดแรงจูงใจภายใน : รายงานการวิจัยฉบับที่ 70. สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อุทุมพร   จามรมาน.  (2532).  การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดลักษณะผู้เรียน. กรุงเทพฯ : ฟันนี่พับบลิชซิ่ง.

Aiken L.R. (1991).  Psychological  testing and assessment.  Boston : Allyn and  Bacon, (151.2/Ai291p).

Anastasi, A.  (1988).  Psychological  testing. 5th  ed., New  York : McMillan  Publishing C.,  Inc., (150.287/An 534p)

Cronbach, L.J. (1984).  Essentials of psychological testing.  New York : Harper & Row.

Dick, W. and Hagerty, H. (1971). Topics in measurement : reliability and validity.  New  York : McGraw-Hill Book Company.

Friedenberg, Lisa. (1995).  Psychological  testing : design, analysis, and use.  Boston : Allyn  and Bacon.

Gronlund, N.E.  (1981).  Measurement  and  evaluation  in  teaching.  4th ed.  New  York :  McMillan.

Linn, R.L.  (1989).  Educational Measurement.  3rd ed.  American  Council  on  Education,  New York : McMillan.

Nunnally, J.C. & Bernstein, I.H. (1994).  Psychometric  theory.  New  York : McGraw-Hill  Book  Company.

Sax, G.  (1989).  Principles  of  educational  and  psychological  measurement  and  evaluation.  2nd . ed.  California : Wadsaworth  Publishing  Company.

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

แนวการทำรายงานวิชา  วป 502

 

งานกลุ่ม ๆ ละ 3 คน  นิสิตจะต้องทำรายงาน 1 ชิ้น

การสร้างเครื่องมือวัดตัวแปร

ให้นิสิตดำเนินการให้ครอบคลุมกิจกรรมต่อไปนี้

1.1  นิยามเชิงปฏิบัติการตัวแปรที่วัด

1.2  ความสำคัญของเครื่องมือ (ค้นคว้าทฤษฎีและวรรณคดีที่เกี่ยวข้อง

1.3  จุดประสงค์ในการสร้างเครื่องมือ

1.4  ขั้นตอนในการสร้างเครื่องมือ

1.5  ลักษณะของเครื่องมือ (ประมาณ 20 ข้อ)

1.6  การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ

            -กลุ่มทดลองใช้เครื่องมือ (ไม่ต่ำกว่า 30 คน)

            -ค่าความเชื่อมั่น

            -หลักฐานเกี่ยวกับความเที่ยงตรง

            -ค่าสถิติพื้นฐาน

1.7  เกณฑ์ปกติเสนอในรูปเปอร์เซนไทล์  คะแนนซี  คะแนนที

1.8  โปรไฟล์ผลจากการใช้เครื่องมือวัดของกรณีตัวอย่าง  1  ราย

1.9  การให้คะแนน  การประเมินค่าจากเครื่องมือวัด

1.10    ข้อจำกัดของเครื่องมือวัดชุดนี้

รายงานการสร้างเครื่องมือวัดตัวแปร ให้นำเสนอตามรูปแบบปริญญานิพนธ์  ประกอบด้วย  บทนำ  เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  วิธีการวิจัย  ผลการวิเคราะห์ข้อมูล สรุปผล และอภิปรายผล (ไม่เกิน 25 หน้า)

 

          กำหนดส่ง  ส่งก่อนการนำเสนอในชั้นเรียน  1  สัปดาห์